เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 4. จูฬเวทัลลสูตร

"พระผู้มีพระภาคไม่ทรงจัดขันธ์ 3 ประการ เข้าในอริยมรรคมีองค์ 8 แต่
ทรงจัดอริยมรรคมีองค์ 8 เข้าในขันธ์ 3 ประการ คือ
1. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ทรงจัดเข้าในสีลขันธ์
2. สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ทรงจัดเข้าในสมาธิขันธ์
3. สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ทรงจัดเข้าในปัญญาขันธ์"

สมาธิและสังขาร

"แม่เจ้าขอรับ ธรรมชนิดใดเป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใดเป็นนิมิตของสมาธิ
ธรรมเหล่าใดเป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การเจริญสมาธิ เป็นอย่างไร"
"ท่านวิสาขะ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นสมาธิ สติปัฏฐาน 4 เป็น
นิมิตของสมาธิ สัมมัปปธาน 4 เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การเสพ1 การเจริญ
การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นนั่นแล เป็นการเจริญสมาธิ"
[463] "แม่เจ้าขอรับ สังขารมีเท่าไร"
"ท่านวิสาขะ สังขารมี 3 ประการ คือ (1) กายสังขาร2 (2) วจีสังขาร3
(3) จิตตสังขาร4"
"ก็กายสังขารเป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็นอย่างไร"
"ลมอัสสาสะ(ลมหายใจเข้า) และลมปัสสาสะ(ลมหายใจออก) เป็นกายสังขาร
วิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นจิตตสังขาร"

เชิงอรรถ :
1 การเสพ ในที่นี้หมายถึงการเสพที่เป็นไปชั่วขณะจิตเดียว (ม.มู.อ. 2/462/271)
2 กายสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ลมหายใจ (ม.มู.อ. 2/463/272, องฺ.ติก.อ.
2/23/101)
3 วจีสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร หรือวจีสัญเจตนา คือความ
จงใจทางวาจา (ม.มู.อ. 2/463/272, องฺ.ติก.อ.2/23/101)
4 จิตตสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา หรือมโนสัญเจตนา คือ
ความจงใจทางใจ (ม.มู.อ. 2/463/272, องฺ.ติก.อ. 2/23/101)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :503 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 4. จูฬเวทัลลสูตร

"แม่เจ้าขอรับ เพราะเหตุไร ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะจึงเป็นกายสังขาร
วิตกและวิจารจึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงเป็นจิตตสังขาร"
"ท่านวิสาขะ ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะเหล่านี้เป็นธรรมที่มีอยู่คู่กาย เนื่อง
กับกาย ฉะนั้น ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะจึงเป็นกายสังขาร บุคคลตรึกและตรอง
ก่อนแล้วจึงเปล่งวาจา ฉะนั้น วิตกและวิจารจึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา
เป็นธรรมที่มีอยู่คู่จิต เนื่องกับจิต ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงเป็นจิตตสังขาร"

สัญญาเวทยิตนิโรธ

[464] "แม่เจ้าขอรับ การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร"
"ท่านวิสาขะ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า 'เรา
จักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือเราเข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธแล้ว' ที่แท้ จิตที่ท่านอบรมไว้ในเบื้องต้นอย่างนั้น ย่อมนำเข้าไปใน
ภาวะนั้นได้เอง"
"เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ธรรมเหล่าไหนที่ดับไปก่อน กายสังขาร
วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร"
"เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับไปก่อน จากนั้นกายสังขารจึงดับ
ส่วนจิตตสังขารดับทีหลัง"
"การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นอย่างไร"
"ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า 'เรา
จักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
หรือเราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว' ที่แท้ จิตที่ท่านอบรมไว้ในเบื้อง
ต้นอย่างนั้น ย่อมนำเข้าไปในภาวะนั้นได้เอง"
"เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิดขึ้นก่อน
กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร"

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :504 }