เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 3. มหาเวทัลลสูตร

"ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิต มีเท่าไร"
"ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี 2 ประการ คือ
1. การมนสิการถึงนิมิตทั้งปวง
2. การไม่มนสิการถึงนิพพานธาตุ ซึ่งไม่มีนิมิต
ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี 2 ประการนี้แล"
[459] "ท่านผู้มีอายุ ธรรมเหล่านี้ คือ อัปปมาณาเจโตวิมุตติ1
อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ2 สุญญตาเจโตวิมุตติ3 อนิมิตตาเจโตวิมุตติ4 มีอรรถต่างกัน
มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น"
"ท่านผู้มีอายุ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกัน และมี
พยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นมีอยู่ อนึ่ง เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถ
อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้นมีอยู่"
"เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน
เหตุนั้นเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ...
ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก

เชิงอรรถ :
1 อัปปมาณาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม 12 ประการ คือ พรหมวิหาร 4 มรรค 4 ผล 4 พรหมวิหาร
ชื่อว่า อัปปมาณะ เพราะแผ่ไปหาประมาณมิได้ ธรรมที่เหลือชื่อว่าอัปปมาณะ เพราะไม่มีกิเลสเป็นเครื่องวัด
(ม.มู.อ. 2/459/262, สํ.สฬา.อ. 3/349/160)
2 อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม 9 ประการ คือ อากิญจัญญายตนะ 1 มรรค 4 ผล 4
อากิญจัญญายตนะ ชื่อว่าอากิญจัญญะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวลเป็นอารมณ์ มรรคและผล ชื่อว่า
อากิญจัญญะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวลคือกิเลสเครื่องย่ำยีและกิเลสเครื่องผูก (ม.มู.อ. 2/459/262,
สํ.สฬา.อ. 3/349/160)
3 สุญญตาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ความหลุดพ้นโดยว่างจากราคะ โทสะ โมหะ เพราะพิจารณานามรูปโดยความ
เป็นอนัตตา (ม.มู.อ. 2/459/263, สํ.สฬา.อ. 3/349/161)
4 อนิมิตตาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม 13 ประการ คือ วิปัสสนา 1 อรูป 4 มรรค 4 ผล 4 (ม.มู.อ.
2/459/263, สํ.สฬา.อ. 3/349/161)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :497 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 3. มหาเวทัลลสูตร

ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ...
มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
นี้เรียกว่า 'อัปปมาณาเจโตวิมุตติ'
อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในพระธรรม-
วินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า 'ไม่มีอะไร'
นี้เรียกว่า 'อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ'
สุญญตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
พิจารณาเห็นว่า 'สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนบ้าง'
นี้เรียกว่า 'สุญญตาเจโตวิมุตติ'
อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุอนิมิตตาเจโตสมาธิ เพราะไม่มนสิการถึง
นิมิตทั้งปวงอยู่
นี้เรียกว่า 'อนิมิตตาเจโตวิมุตติ'
เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน
เหตุนั้น เป็นอย่างนี้แล
เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้น เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :498 }