เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 3. มหาเวทัลลสูตร

"ท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรผู้มีมโนวิญญาณอันบริสุทธิ์สละแล้วจากอินทรีย์ 5
พึงรู้อากาสานัญจายตนฌานว่า 'อากาศหาที่สุดมิได้' พึงรู้วิญญาณัญจายตนฌานว่า
'วิญญาณหาที่สุดมิได้' พึงรู้อากิญจัญญายตนฌานว่า 'ไม่มีอะไร"1
"พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมที่ตนจะพึงรู้ด้วยอะไร"
"พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมที่ตนจะพึงรู้ด้วยปัญญาจักษุ"2
"ปัญญามีไว้เพื่ออะไร"
"ปัญญามีไว้เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อการกำหนดรู้ และเพื่อการละ"

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ

[452] "ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมีเท่าไร"
"ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมี 2 ประการ คือ
1. ปรโตโฆสะ3(การได้สดับจากบุคคลอื่น)
2. โยนิโสมนสิการ4(การมนสิการโดยแยบคาย)
ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมี 2 ประการนี้แล"

เชิงอรรถ :
1 ข้อความนี้หมายถึงพระโยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรอาศัยมโนวิญญาณ กล่าวคือรูปาวจรฌานจิตในฌานที่ 4
เป็นพื้นฐาน จึงจะสามารถบำเพ็ญให้อรูปาวจรสมาบัติที่ 1 คือ อากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิดขึ้นได้
สามารถให้อรูปาวจรสมาบัติอื่นเกิดขึ้นต่อมาตามลำดับ (ม.มู.อ. 2/451/253)
2 ปัญญาจักษุ ในที่นี้หมายถึงสมาธิปัญญา และวิปัสสนาปัญญา สมาธิปัญญา ทำหน้าที่กำจัดโมหะ
วิปัสสนาปัญญา ทำหน้าที่พิจารณาไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ (ม.มู.อ. 2/451/254)
3 ปรโตโฆสะ ในที่นี้หมายถึงการฟังธรรมเป็นที่สบายเหมาะสมแก่ตน เช่นพระสารีบุตรเถระได้ฟังธรรมจาก
พระอัสสชิเถระว่า 'ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ...' (ดู วิ.ม. (แปล) 4/60/73) (ม.มู.อ. 2/452/254)
4 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 15 (สัพพาสวสูตร) หน้า 18 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :491 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 3. มหาเวทัลลสูตร

"สัมมาทิฏฐิ1ซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรมเท่าไรสนับสนุน"
"สัมมาทิฏฐิซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรม 5 ประการ
สนับสนุน คือ
1. มีศีล2สนับสนุน
2. มีสุตะ3สนับสนุน
3. มีสากัจฉา4สนับสนุน
4. มีสมถะ5สนับสนุน
5. มีวิปัสสนา6สนับสนุน
สัมมาทิฏฐิซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรม 5 ประการ
นี้แลสนับสนุน"

เชิงอรรถ :
1 สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมัคคสัมมาทิฏฐิ (ม.มู.อ. 2/452/254)
2 ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล 4 เพราะปาริสุทธิศีล 4 เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค (ม.มู.อ.
2/452/254, ม.มู.ฏีกา 2/452/326)
3 สุตะ ในที่นี้หมายถึงการฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ มีความหมายเท่ากับปรโตโฆสะ (ม.มู.อ. 2/452/254)
4 สากัจฉา หมายถึงการปรับกัมมัฏฐานให้เกิดความเหมาะสม (ม.มู.อ. 2/452/254)
5 สมถะ หมายถึงสมาบัติที่เป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา (ม.มู.อ. 2/452/254)
6 วิปัสสนา หมายถึงอนุปัสสนา 7 ประการ (ม.มู.อ. 2/452/255)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :492 }