เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 5. อนังคณสูตร

เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า 'เรา
เป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุทั้งหลายพึงโจทเราในที่ลับเฉพาะ ไม่พึงโจทในท่ามกลางสงฆ์
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุทั้งหลายพึงโจทภิกษุนั้นในท่ามกลางสงฆ์ ไม่พึงโจทในที่ลับเฉพาะ
ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า 'ภิกษุทั้งหลายโจทเราในท่าม
กลางสงฆ์ ไม่โจทในที่ลับเฉพาะ' ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง 2 นี้ ชื่อว่า
กิเลสเพียงดังเนิน
เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า 'เรา
เป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุผู้เสมอกัน1 พึงโจทเรา ภิกษุผู้ไม่เสมอกันไม่พึงโจทเรา'
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ไม่เสมอกันพึงโจทภิกษุนั้น ภิกษุผู้เสมอกันไม่โจทภิกษุนั้น ดังนั้น
ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า 'ภิกษุผู้ไม่เสมอกันโจทเรา แต่ภิกษุผู้
เสมอกันไม่โจทเรา' ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง 2 นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
'โอหนอ ขอพระศาสดาทรงซักถามเฉพาะเราบ่อย ๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ทรงซักถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย' แต่เป็น
ไปได้ที่พระศาสดา พึงทรงซักถามภิกษุอื่นบ่อย ๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ทรงซักถามภิกษุนั้นบ่อย ๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า 'พระศาสดาทรงซักถาม
ภิกษุอื่นบ่อย ๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ทรงซักถามเราบ่อย ๆ
แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย' ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง 2 นี้
ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
'โอหนอ ขอภิกษุทั้งหลายแวดล้อมเราเท่านั้นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร
ไม่แวดล้อมภิกษุอื่นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร' แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุ
ทั้งหลายพึงแวดล้อมภิกษุอื่นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร ไม่แวดล้อมภิกษุ

เชิงอรรถ :
1 ภิกษุผู้เสมอกัน หมายถึงภิกษุผู้ต้องอาบัติโจทภิกษุผู้ต้องอาบัติข้อเดียวกัน (ม.มู.อ. 1/60/156)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :49 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 5. อนังคณสูตร

นั้นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น
เพราะคิดว่า 'ภิกษุทั้งหลายแวดล้อมภิกษุอื่นอย่างหนาแน่นแล้วเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร
ไม่แวดล้อมเราอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร' ความโกรธและความไม่แช่มชื่น
ทั้ง 2 นี้ ชื่อว่า กิเลสเพียงดังเนิน
เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
'โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้อาสนะที่ดีเลิศ1 น้ำที่ดีเลิศ2 บิณฑบาตที่ดีเลิศ3 ใน
โรงฉัน ภิกษุอื่นไม่พึงได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน'
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นพึงได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน
ภิกษุนั้นไม่ได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน ดังนั้น ภิกษุนั้น
ก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า 'ภิกษุอื่นได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ
บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน เราไม่ได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศ
ในโรงฉัน' ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง 2 นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
'โอหนอ ขอเราเท่านั้นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วพึงได้อนุโมทนา ภิกษุอื่นฉันในโรงฉัน
เสร็จแล้วไม่พึงได้อนุโมทนา' แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วพึงได้อนุโมทนา
ภิกษุนั้นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วไม่พึงได้อนุโมทนา ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ
ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า 'ภิกษุอื่นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วได้อนุโมทนา เราฉันในโรงฉัน
เสร็จแล้วไม่ได้อนุโมทนา' ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง 2 นี้ ชื่อว่ากิเลส
เพียงดังเนิน
เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
'โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม ภิกษุอื่นไม่

เชิงอรรถ :
1 อาสนะที่ดีเลิศ หมายถึงที่นั่งหัวแถว (ม.มู.อ. 1/60/157)
2 น้ำที่ดีเลิศ หมายถึงน้ำทักษิณา (ม.มู.อ. 1/60/157)
3 บิณฑบาตที่ดีเลิศ หมายถึงบิณฑบาตที่ถวายแก่พระเถระผู้เป็นประธานในสงฆ์ (ม.มู.อ. 1/60/157)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :50 }