เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 2. เวรัญชกสูตร

4. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำที่ไม่จริง ฯลฯ ไม่มีที่
กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยไม่เหมาะแก่เวลา
บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติอธรรมทางวาจามี 4 จำพวก
อย่างนี้แล
บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติอธรรมทางใจมี 3 จำพวก
ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
1. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ 'ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา'
2. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า 'ขอให้สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า
ฯลฯ หรืออย่าได้มี'
3. เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ มีความเห็นวิปริตว่า 'ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ฯลฯ สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
ก็ไม่มีในโลก'
บุคคลผู้ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติอธรรมทางใจมี 3 จำพวก
อย่างนี้แล
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติ
อธรรมเป็นเหตุ อย่างนี้

กุศลกรรมบถ 10

[446] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้
ประพฤติธรรมทางกายมี 3 จำพวก บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติ
ธรรมทางวาจามี 4 จำพวก บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรม
ทางใจมี 3 จำพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :483 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 2. เวรัญชกสูตร

บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมทางกายมี 3 จำพวก
ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
1. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ
มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
2. เป็นผู้ละเว้นขาดจากจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรือในป่าที่เจ้าของมิได้ให้
ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย
3. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติ
ล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครองของมารดา ฯลฯ
บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมทางกายมี 3 จำพวก
อย่างนี้แล
บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมทางวาจามี 4 จำพวก
ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
1. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ อยู่ในสภา ฯลฯ ไม่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้อยู่ ฯลฯ
2. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ฯลฯ พูดแต่ถ้อยคำที่
สร้างสรรค์ความสามัคคี
3. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ฯลฯ พูดแต่คำไม่มีโทษ
4. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด
ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
บุคคลผู้ประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้ประพฤติธรรมทางวาจามี 4 จำพวก
อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :484 }