เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 1. สาเลยยกสูตร

ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมทางกายมี 3 ประการ
อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
1. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ
มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
2. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้านหรือในป่าที่เจ้าของมิได้
ให้ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย
3. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติ
ล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครองของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา
ที่อยู่ในปกครองของมารดาบิดา ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่อยู่
ในปกครองของญาติ ที่ประพฤติธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง
โดยที่สุด แม้สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัยหมายไว้
ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมทางกายมี 3 ประการ
อย่างนี้แล
ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมทางวาจามี 4 ประการ
อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
1. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่
ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลาง
ราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า 'ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าว
สิ่งนั้น' บุรุษนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า 'ไม่รู้' หรือรู้ก็กล่าวว่า 'รู้' ไม่เห็น
ก็กล่าวว่า 'ไม่เห็น' หรือเห็นก็กล่าวว่า 'เห็น' ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้
เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือ
เห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :476 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 1. สาเลยยกสูตร

2. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไม่ไป
บอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มา
บอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคน
ที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่
ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
3. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
4. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดแต่คำจริง
พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่
อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมทางวาจามี 4 ประการ
อย่างนี้แล
ความประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรมทางใจมี 3 ประการ
อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
1. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์
อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า 'ทำอย่างไร ทรัพย์อัน
เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา'
2. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า 'ขอสัตว์เหล่านี้ จง
เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด'
3. เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ มีความเห็นไม่วิปริตว่า 'ทานที่ให้แล้วมีผล
ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี
และทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :477 }