เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [4. มหายมกวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ...
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลศูทร ...
ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลไหน ๆ ก็ตาม มาบวชเป็นบรรพชิต เธอทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน กุลบุตรนี้ชื่อว่าสมณะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ฉันนั้น
เหมือนกันแล"
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬอัสสปุรสูตรที่ 10 จบ
มหายมกวรรคที่ 4 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. จูฬโคสิงคสูตร 2. มหาโคสิงคสูตร
3. มหาโคปาลสูตร 4. จูฬโคปาลสูตร
5. จูฬสัจจกสูตร 6. มหาสัจจกสูตร
7. จูฬตัณหาสังขยสูตร 8. มหาตัณหาสังขยสูตร
9. มหาอัสสปุรสูตร 10. จูฬอัสสปุรสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 1. สาเลยยกสูตร

5. จูฬยมกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดเล็ก

1. สาเลยยกสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา
เหตุปัจจัยนำไปสุคติและทุคติ

[439] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลกับภิกษุหมู่ใหญ่ถึงบ้าน
พราหมณ์ชื่อสาลาของชาวโกศล พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาได้ฟังข่าวว่า1
"ท่านพระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริก
ไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลาโดย
ลำดับแล้ว ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า 'แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค2' พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศ
ให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และ
มีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง"
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกได้ทูลสนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.สี. (แปล) 9/255/87
2 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/64/247, วิ.อ. 1/1/103-118

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :471 }