เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [4. มหายมกวรรค] 10. จูฬอัสสปุรสูตร

ไม่ได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาป ยังละความปรารถนาที่เป็นบาปไม่ได้ มีความ
เห็นผิด ยังละความเห็นผิดไม่ได้
เพราะยังละกิเลสที่เป็นมลทินของสมณะ เป็นโทษของสมณะ เป็นดุจน้ำฝาด
ของสมณะ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดในอบาย และมีวิบากที่จะพึงเสวยในทุคติเหล่านี้ไม่ได้
เราจึงกล่าวว่า 'ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ'
ภิกษุทั้งหลาย อุปมาเหมือนอาวุธที่ชื่อมตชะ1มีคม 2 ข้าง ทั้งชุบและ
ลับดีแล้ว สอดไว้ในฝัก แม้ฉันใด เรากล่าวว่าบรรพชาของภิกษุนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น

มิใช่สมณะด้วยเครื่องแบบและวัตร

[437] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้นุ่งห่มผ้าซ้อน2มีความเป็นสมณะ3
ด้วยอาการเพียงการนุ่งห่มผ้าซ้อน
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ถือเพศเปลือยกายมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
เปลือยกาย
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้หมักหมมด้วยธุลีมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
หมักหมมด้วยธุลี
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้อาบน้ำมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการลงอาบน้ำ
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
อยู่โคนไม้เป็นวัตร

เชิงอรรถ :
1 อาวุธที่ชื่อมตชะ หมายถึงอาวุธที่ทำจากผงตะไบเหล็กกล้าซึ่งช่างเหล็กคลุกเนื้อให้นกกระเรียนกินแล้วถ่าย
ไม่ได้ตายเองหรือฆ่าให้ตายแล้วนำผงนั้นมาล้างน้ำ คลุกเนื้อให้นกกระเรียนอื่น ๆ กินอีกทำอย่างนี้จนครบ
7 ครั้ง ชื่อว่ามตชะ เพราะเกิดจากนกที่ตายแล้ว อาวุธนั้นเป็นอาวุธคมกล้ายิ่งนัก (ม.มู.อ. 2/436/233)
2 ผ้าซ้อน ในที่นี้แปลจากคำว่า สังฆาฏิ หมายถึงผ้าที่ใช้ผ้าเก่าฉีกเป็นชิ้น ๆ เย็บซ้อนกันใช้เป็นผ้านุ่งและห่ม
เป็นข้อวัตรของลัทธินอกศาสนา มิได้หมายถึงสังฆาฏิที่เป็นเครื่องบริขารของภิกษุในธรรมวินัยนี้ (ม.มู.อ.
2/437/233, ม.มู.ฏีกา 2/437/293)
3 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 416 (มหาอัสสปุรสูตร) หน้า 452 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :465 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [4. มหายมกวรรค] 10. จูฬอัสสปุรสูตร

เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้อยู่ในที่แจ้งเป็นวัตรมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียง
การอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ยืนแหงนหน้ามีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
ยืนแหงนหน้า
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้บริโภคภัตตามวาระมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียง
การบริโภคภัตตามวาระ
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ท่องมนตร์มีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการท่องมนตร์
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ขมวดผมมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการขมวดผม
หากบุคคลนุ่งห่มผ้าซ้อน มีอภิชฌามาก จะพึงละอภิชฌาได้ด้วยอาการเพียง
การนุ่งห่มผ้าซ้อน มีจิตพยาบาท จะพึงละพยาบาทได้ มีความมักโกรธ จะพึงละ
ความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธ จะพึงละความผูกโกรธได้ มีความลบหลู่ จะพึงละ
ความลบหลู่ได้ มีความตีเสมอ จะพึงละความตีเสมอได้ มีความริษยา จะพึงละ
ความริษยาได้ มีความตระหนี่ จะพึงละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวดจะพึงละ
ความโอ้อวดได้ มีมารยา จะพึงละมารยาได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาป จะพึงละ
ความปรารถนาที่เป็นบาปได้ มีความเห็นผิด จะพึงละความเห็นผิดได้ ด้วยอาการ
เพียงการนุ่งห่มผ้าซ้อนไซร้ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตก็จะพึงให้บุคคลนั้นนุ่งห่ม
ผ้าซ้อนตั้งแต่เกิดทีเดียว พึงชักชวนผู้นั้นให้นุ่งห่มผ้าซ้อนอย่างเดียวว่า 'ท่านผู้มี
หน้าอิ่มเอิบ มาเถิด ท่านจงนุ่งห่มผ้าซ้อน ท่านผู้นุ่งห่มผ้าซ้อนอยู่ มีอภิชฌามาก
ก็จักละอภิชฌาได้ด้วยอาการเพียงนุ่งห่มผ้าซ้อน มีจิตพยาบาทก็จักละพยาบาทได้
มีความมักโกรธก็จักละความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธก็จักละความผูกโกรธได้
มีความลบหลู่ก็จักละความลบหลู่ได้ มีความริษยาก็จักละความริษยาได้ มีความตระหนี่
ก็จักละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวดก็จักละความโอ้อวดได้ มีมารยาก็จักละ
มารยาได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาปก็จักละความปรารถนาที่เป็นบาปได้ มีความ
เห็นผิดก็จักละความเห็นผิดได้ ด้วยอาการเพียงการนุ่งห่มผ้าซ้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :466 }