เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [4. มหายมกวรรค] 7. จูฬตัณหาสัขยสูตร

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า "สถานที่ที่น่ารื่นรมย์ของท่านท้าวโกสีย์นี้
งดงาม เหมือนสถานที่ของผู้ที่ได้ทำบุญไว้ในปางก่อน แม้มนุษย์ทั้งหลายเห็น
สถานที่ที่น่ารื่นรมย์ใด ๆ แล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า 'งามจริง ดุจสถานที่ที่น่า
รื่นรมย์ของพวกเทพชั้นดาวดึงส์"
ในขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดว่า "ท้าวสักกะนี้เป็นผู้
ประมาทอยู่มากนัก ทางที่ดี เราควรให้ท้าวสักกะนี้สังเวช" จึงบันดาลอิทธา-
ภิสังขาร1 ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากดเวชยันตปราสาทเขย่าให้สั่นสะท้านหวั่นไหว ทันใดนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพ ท้าวเวสวัณมหาราช และพวกเทพชั้นดาวดึงส์ มีความ
ประหลาดมหัศจรรย์ใจ กล่าวกันว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่
เคยปรากฏ พระสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากดทิพยพิภพ
เขย่าให้สั่นสะท้านหวั่นไหวได้"
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบว่า "ท้าวสักกะจอมเทพทรงมีความ
สลดจิตขนลุกแล้ว" จึงทูลถามว่า "ท้าวโกสีย์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสความหลุด
พ้นด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาโดยย่ออย่างไร ขอโอกาสเถิด แม้อาตมภาพก็จักขอมี
ส่วนเพื่อฟังกถานั้น"

ข้อปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา

[394] ท้าวสักกะจึงตรัสว่า "ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้า
จะเล่าถวาย ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว จึงได้
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร แล้วได้ทูลถามว่า 'ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา มี

เชิงอรรถ :
1 อิทธาภิสังขาร หมายถึงการแสดงฤทธิ์ ในที่นี้พระมหาโมคคัลลานเถระ เข้าอาโปกสิณแล้วอธิษฐานว่า
"ขอให้โอกาส(พื้นที่)อันเป็นที่ตั้งเฉพาะปราสาท จงเป็นน้ำ" แล้วใช้หัวแม่เท้ากดลงที่ช่อฟ้าปราสาท ปราสาทนั้น
สั่นสะท้านหวั่นไหวไปมา เหมือนบาตรวางไว้บนหลังน้ำ เอานิ้วเคาะที่ขอบบาตร ก็หวั่นไหวไปมา อยู่นิ่งไม่
ได้ฉะนั้น (ม.มู.อ. 2/393/211)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :424 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [4. มหายมกวรรค] 7. จูฬตัณหาสัขยสูตร

ความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มี
ที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย' เมื่อข้าพเจ้าทูลถาม
อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า 'จอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า
'ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น' ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ว่า 'ธรรมทั้งปวงไม่
ควรยึดมั่น' ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนด
รู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ และพิจารณาเห็นความ
สลัดทิ้งในเวทนาทั้งหลายนั้นอยู่ เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็น
ความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ และพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งในเวทนา
ทั้งหลายนั้นอยู่ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น
เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตน และรู้ชัดว่า 'ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป' จอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้
หลุดพ้นด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด
ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสความหลุดพ้นด้วยธรรม
เป็นที่สิ้นตัณหาโดยย่อแก่ข้าพเจ้าอย่างนี้"
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะชื่นชมยินดีภาษิตของท้าวสักกะแล้ว
อันตรธานจากหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ มาปรากฏที่ปราสาทของมิคารมาตาในบุพพาราม
เปรียบเหมือนคนแข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ครั้งนั้น พวกเทพธิดาผู้บำเรอท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อท่านพระมหา-
โมคคัลลานะจากไปแล้วไม่นาน ได้ทูลถามท้าวสักกะจอมเทพว่า "ข้าแต่พระองค์
ผู้นิรทุกข์ พระสมณะนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระศาสดาของพระองค์หรือ
หนอ"
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า "เหล่าเทพธิดาผู้นิรทุกข์ พระสมณะนั้นไม่ใช่พระผู้มี-
พระภาคผู้เป็นพระศาสดาของเรา เป็นท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นเพื่อนพรหมจารี
ของเรา"

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :425 }