เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 1. มูลปริยายสูตร

[3] หมายรู้ภูต1โดยความเป็นภูต ครั้นหมายรู้ภูตโดยความเป็นภูตแล้ว
กำหนดหมายซึ่งภูต กำหนดหมายในภูต กำหนดหมายนอกภูต กำหนดหมายภูต
ว่าเป็นของเรา ยินดีภูต
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
หมายรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดา ครั้นหมายรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดาแล้ว
กำหนดหมายซึ่งเทวดา กำหนดหมายในเทวดา กำหนดหมายนอกเทวดา กำหนด
หมายเทวดาว่าเป็นของเรา ยินดีเทวดา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
หมายรู้ปชาบดี2 โดยความเป็นปชาบดี ครั้นหมายรู้ปชาบดีโดยความเป็น
ปชาบดีแล้ว กำหนดหมายซึ่งปชาบดี กำหนดหมายในปชาบดี กำหนดหมายนอก
ปชาบดี กำหนดหมายปชาบดีว่าเป็นของเรา ยินดีปชาบดี
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
หมายรู้พรหมโดยความเป็นพรหม ครั้นหมายรู้พรหมโดยความเป็นพรหมแล้ว
กำหนดหมายซึ่งพรหม กำหนดหมายในพรหม กำหนดหมายนอกพรหม กำหนด
หมายพรหมว่าเป็นของเรา ยินดีพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'

เชิงอรรถ :
1 ภูต หมายถึงขันธ์ 5 อมนุษย์ ธาตุ สิ่งที่มีอยู่ พระขีณาสพ สัตว์ และต้นไม้เป็นต้น แต่ในที่นี้หมายถึงสัตว์
ทั้งหลายผู้อยู่ต่ำกว่าชั้นจาตุมหาราช (ม.มู.อ. 1/3/34)4)
2 ปชาบดี หมายถึงผู้ยิ่งใหญ่กว่าปชาคือหมู่สัตว์ ได้แก่ มารชื่อว่า ปชาบดี เพราะปกครองเทวโลกชั้นปรนิม-
มิตวสวัตดี (ม.มู.อ. 1/3/36)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :4 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 1. มูลปริยายสูตร

หมายรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหม ครั้นหมายรู้อาภัสสร-
พรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหมแล้ว กำหนดหมายซึ่งอาภัสสรพรหม กำหนด
หมายในอาภัสสรพรหม กำหนดหมายนอกอาภัสสรพรหม กำหนดหมายอาภัสสร-
พรหมว่าเป็นของเรา ยินดีอาภัสสรพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
หมายรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหม ครั้นหมายรู้สุภกิณห-
พรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหมแล้ว กำหนดหมายซึ่งสุภกิณหพรหม กำหนด
หมายในสุภกิณหพรหม กำหนดหมายนอกสุภกิณหพรหม กำหนดหมายสุภกิณห-
พรหมว่าเป็นของเรา ยินดีสุภกิณหพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
หมายรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหม ครั้นหมายรู้เวหัปผล-
พรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหมแล้ว กำหนดหมายซึ่งเวหัปผลพรหม กำหนด
หมายในเวหัปผลพรหม กำหนดหมายนอกเวหัปผลพรหม กำหนดหมายเวหัปผล-
พรหมว่าเป็นของเรา ยินดีเวหัปผลพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
หมายรู้อภิภูสัตว์1 โดยความเป็นอภิภูสัตว์ ครั้นหมายรู้อภิภูสัตว์โดยความ
เป็นอภิภูสัตว์แล้ว กำหนดหมายซึ่งอภิภูสัตว์ กำหนดหมายในอภิภูสัตว์ กำหนด
หมายนอกอภิภูสัตว์ กำหนดหมายอภิภูสัตว์ว่าเป็นของเรา ยินดีอภิภูสัตว์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

เชิงอรรถ :
1 อภิภูสัตว์ กับ อสัญญีสัตว์ เป็นไวพจน์ของกันและกัน หมายถึงสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา สถิตอยู่ในชั้นเดียวกับ
เวหัปผลพรหม บังเกิดด้วยอิริยาบถใดก็สถิตอยู่ด้วยอิริยาบถนั้นตราบสิ้นอายุขัย (ม.มู.อ. 1/3/38)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :5 }