เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [4. มหายมกวรรค] 5. จูฬสัจจกสูตร

ปราศรัยนี้ในที่ชุมชนในกรุงเวสาลีว่า 'สมณะหรือพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ
เป็นคณาจารย์ ที่ปฏิญญาตนว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โต้ตอบวาทะกับ
เราแล้วจะไม่พึงประหม่า ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลจากรักแร้
เราไม่เห็นเลยแม้แต่คนเดียว หากเราโต้ตอบวาทะกับต้นเสาที่ไม่มีจิตใจ แม้เสานั้น
โต้ตอบวาทะกับเรา ก็ต้องประหม่า สะทกสะท้าน หวั่นไหว ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึง
มนุษย์เลย'
อัคคิเวสสนะ หยาดเหงื่อของท่านบางหยาด หยดจากหน้าผากลงไปยัง
ผ้าห่มแล้วตกลงที่พื้น ส่วนหยาดเหงื่อในกายของเราในบัดนี้ไม่มีเลย"
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงเปิดพระวรกายอันมีพระฉวีวรรณดุจทองคำในที่
ชุมชนนั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกะ นิครนถบุตรถึงกับนั่งนิ่ง เก้อเขิน
คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
[360] ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีนามว่าทุมมุขะเห็นว่า สัจจกะ นิครนถบุตรนั่งนิ่ง
เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
"ท่านพระโคดม ขอให้ข้าพเจ้าแสดงอุปมาถวาย"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ทุมมุขะ ขอเชิญท่านแสดงอุปมาเถิด"
เจ้าลิจฉวีนั้นกราบทูลว่า "ในที่ใกล้บ้านหรือนิคม มีสระโบกขรณีอยู่สระหนึ่ง
ในสระนั้นมีปูอยู่ตัวหนึ่ง พวกเด็กชายหญิงเป็นจำนวนมากออกจากบ้านหรือนิคมนั้น
ไปถึงสระโบกขรณีนั้นแล้วก็ลงไปจับปูขึ้นจากน้ำ วางไว้บนบก ปูนั้นส่ายก้ามไปทางใด
เด็กเหล่านั้นก็คอยต่อย ตี ทุบก้ามปูนั้นด้วยไม้บ้าง ด้วยกระเบื้องบ้าง เมื่อปูนั้น
ก้ามหักหมดแล้ว ก็ไม่อาจลงสู่สระโบกขรณีนั้นเหมือนก่อนได้ แม้ฉันใด ทิฏฐิที่เป็น
เสี้ยนหนาม ที่เข้าใจผิด และที่กวัดแกว่งบางอย่างของสัจจกะ นิครนถบุตร ถูกพระองค์
หัก โค่น ลบ ล้างเสียแล้ว บัดนี้ สัจจกะ นิครนถบุตรก็จะไม่มาใกล้พระองค์เพื่อ
โต้วาทะอีก ฉันนั้นเหมือนกัน"
เมื่อเจ้าลิจฉวีนามว่าทุมมุขะกล่าวอย่างนี้แล้ว สัจจกะ นิครนถบุตรจึงพูดว่า
"เจ้าทุมมุขะ ท่านหยุดเถิด หยุดเถิด ท่านพูดมากนัก ข้าพเจ้าไม่ได้พูดกับท่าน
ข้าพเจ้าพูดกับท่านพระโคดมต่างหาก"

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :397 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [4. มหายมกวรรค] 5. จูฬสัจจกสูตร

พระสาวกผู้ปฏิบัติตามคำสอน

[361] (สัจจกะ นิครนถบุตร) ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็กราบทูลว่า "ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ คำพูดนี้เป็นของข้าพเจ้าและของพวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่น
หยุดไว้ก่อน ถ้อยคำนั้นอาจเป็นแต่คำเพ้อเจ้อ พูดเพ้อกันไป
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สาวกของท่านพระโคดมจึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสอน
ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้อง
เชื่อใครอีกในคำสอนของศาสดา(ของตน)"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อัคคิเวสสนะ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เห็นเบญจขันธ์
นั้นทั้งหมด คือ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม ตามความ
เป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า 'นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา' เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารอย่างใด
อย่างหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม ตามความ
เป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า 'นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา' ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สาวกของเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูก
ตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใคร
อีกในคำสอนของศาสดา(ของตน)"
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์
ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ"
"อัคคิเวสสนะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นเบญจขันธ์นั้นทั้งหมด คือ รูปอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือ
ละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบอย่างนี้ว่า 'นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา' เห็นเวทนา
อย่างใดอย่างหนึ่ง ... เห็นสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... เห็นสังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :398 }