เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [4. มหายมกวรรค] 4. จูฬโคปาลสูตร

ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นที่อยู่แห่งมาร ฉลาดในธรรมอันไม่เป็นที่อยู่แห่งมาร
ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นที่อยู่แห่งมัจจุ ฉลาดในธรรมอันไม่เป็นที่อยู่แห่งมัจจุ
ชนเหล่าใดเข้าใจถ้อยคำของสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นว่าเป็นถ้อยคำที่ตนควรฟัง
ควรเชื่อ ความเข้าใจของชนเหล่านั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน

ฝูงโคข้ามถึงฝั่งโดยสวัสดี

[352] ภิกษุทั้งหลาย เหล่าโคผู้ที่เป็นจ่าฝูง เป็นผู้นำฝูงว่ายตัดกระแสแม่น้ำ
คงคาข้ามไปถึงฝั่งได้โดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลายที่เป็นอรหันตขีณาสพก็ฉันนั้น
เหมือนกัน อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว1 ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว2 ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว3 หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ก็
ชื่อว่า ว่ายตัดกระแสมารข้ามไปถึงฝั่งได้โดยสวัสดี
เหล่าโคที่มีกำลังและโคที่ฝึกไว้ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาข้ามไปถึงฝั่งได้โดยสวัสดี
แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลายที่เป็นโอปปาติกะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ 5 ประการสิ้นไปจึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น ไม่ต้องกลับมาจากโลก
นั้นอีก ก็ชื่อว่า ว่ายตัดกระแสมารข้ามไปถึงฝั่งได้โดยสวัสดี
เหล่าโคหนุ่มและโคสาวว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาข้ามไปถึงฝั่งได้โดยสวัสดี
แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลายที่เป็นสกทาคามี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะสังโยชน์ 3
ประการสิ้นไป (และ) เพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง จึงกลับมาสู่โลกนี้อีก
ครั้งเดียว ก็จะทำให้ดีที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็ชื่อว่า ว่ายตัดกระแสมารข้ามไปถึงฝั่งได้โดย
สวัสดี

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 8 (มูลปริยายสูตร) หน้า 11 ในเล่มนี้
2 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 54 (ภยเภรวสูตร) หน้า 43 ในเล่มนี้
3 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 8 (มูลปริยายสูตร) หน้า 11 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :386 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [4. มหายมกวรรค] 4. จูฬโคปาลสูตร

เหล่าลูกโคที่มีกำลังน้อยว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาข้ามไปถึงฝั่งได้โดยสวัสดี
แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลายที่เป็นโสดาบัน1ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะสังโยชน์2 3
ประการสิ้นไป จึงไม่มีทางตกต่ำ3มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ4 ในวันข้างหน้า
ก็ชื่อว่า ว่ายตัดกระแสมารข้ามไปถึงฝั่งได้โดยสวัสดี
ลูกโคเล็กที่เกิดในวันนั้นลอยไปตามเสียงโคที่เป็นแม่ ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคา
ข้ามไปถึงฝั่งได้โดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่เป็น
ธัมมานุสารี5 และที่เป็นสัทธานุสารี6 ก็ชื่อว่า จักว่ายตัดกระแสมารข้ามไปถึงฝั่งได้
โดยสวัสดี
ภิกษุทั้งหลาย เราแลเป็นผู้ฉลาดในโลกนี้ ฉลาดในโลกหน้า ฉลาดใน
เตภูมิกธรรมอันเป็นที่อยู่แห่งมาร ฉลาดในธรรมอันไม่เป็นที่อยู่แห่งมาร ฉลาดใน
เตภูมิกธรรมอันเป็นที่อยู่แห่งมัจจุ ฉลาดในธรรมอันไม่เป็นที่อยู่แห่งมัจจุ ชนเหล่าใด
จักเข้าใจถ้อยคำของเรานั้นว่าเป็นถ้อยคำที่ตนควรฟัง ควรเชื่อ ความเข้าใจของชน
เหล่านั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน"
พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

เชิงอรรถ :
1-4 ดูเชิงอรรถที่ 2-3,1-2 ข้อ 67 (วัตถูปมสูตร) หน้า 58-59 ในเล่มนี้
5 ธัมมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุผล
แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ(ผู้บรรลุธรรมด้วยความเห็นถูกต้อง) (องฺ.ทุก.อ. 2/49/55, องฺ.สตฺตก.อ.
3/14/162, ม.มู.อ. 2/352/175)
6 สัทธานุสารี คือ ผู้แล่นไปตามศรัทธาท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลมีสัทธาแก่กล้า บรรลุผลแล้ว
กลายเป็นสัทธาวิมุต(ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) เรียกว่า มัคคสมังคีบุคคลชั้นต้น (ปฐมมัคคสมังคี) หรือ
ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสดาปัตติมรรค (องฺ.ทุก.อ. 2/49/55, องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/162, ม.มู.อ. 2/352/175)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :387 }