เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 4. ภยเภรวสูตร

[41] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า 'สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งเป็นผู้เคลือบแคลงสงสัย เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ
สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญ'เหล่านั้น ย่อมประสบความกลัวและความขลาดอันเป็น
อกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตนคือความเคลือบแคลงสงสัย ส่วนเรามิใช่เป็นผู้
เคลือบแคลงสงสัย เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้
ข้ามพ้นความเคลือบแคลงสงสัยแล้ว พระอริยะเหล่าใดเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยแล้ว
เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะ
เหล่านั้น'
พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยนั้นในตน จึงถึง
ความเป็นผู้ปลอดภัยอย่างยิ่งเพื่ออยู่ในป่า (9)
[42] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า 'สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ
สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัวและความขลาดอันเป็น
อกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตนคือการยกตนข่มผู้อื่น ส่วนเรามิใช่เป็นผู้ยกตนข่ม
ผู้อื่น เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้ไม่ยกตนข่ม
ผู้อื่น พระอริยะเหล่าใดเป็นผู้ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด
คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น'
พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ไม่ยกตนข่มผู้อื่นนั้นในตน จึงถึงความ
เป็นผู้ปลอดภัยอย่างยิ่งเพื่ออยู่ในป่า (10)
[43] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า 'สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งเป็นผู้สะดุ้งกลัวและมักขลาด เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่ง
และป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัวและ
ความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตนคือความสะดุ้งกลัวและมักขลาด
ส่วนเรามิใช่เป็นผู้สะดุ้งกลัวและมักขลาด เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่า
โปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้ปราศจากความขนพองสยองเกล้า พระอริยะเหล่าใดเป็น
ผู้ปราศจากความขนพองสยองเกล้า เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและ
ป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น'

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :37 }