เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 10. จูฬสาโรปมสูตร

ความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่น อันยิ่งและประณีตกว่า
ความสมบูรณ์แห่งศีล ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อม
ทำความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึง
ปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงยกตน
ข่มผู้อื่นว่า 'เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์แน่วแน่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้มีจิตไม่ตั้งมั่น
มีจิตแปรผัน' เขาไม่สร้างฉันทะ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและ
ประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งสมาธิ ทั้งเป็นผู้ประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย อุปมา
เหมือนบุรุษนั้นผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่ง
มีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ และกระพี้ไป เข้าใจเปลือกว่า 'แก่นไม้' จึงถาก
นำไป และกิจที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด บุคคลนี้
ตถาคตเรียกว่า มีอุปมาฉันนั้น

กระพี้แห่งพรหมจรรย์

[321] บุคคลบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า
'เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ ... ครอบงำแล้ว ฯลฯ การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น
นี้จะพึงมีได้' เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น
เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ปลื้มใจ และมีความรู้สึกยังไม่
สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่ง และประณีตกว่า
ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
เขาย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึง
ปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่น อันยิ่งและ
ประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งศีล ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
เขาย่อมทำความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น
เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :353 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 10. จูฬสาโรปมสูตร

ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่น
อันยิ่งและประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งสมาธิ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน
ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำญาณทัสสนะให้สำเร็จ เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงปลื้ม
ใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า 'เรารู้
เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ ไม่เห็นอยู่' อนึ่ง เขาไม่สร้างฉันทะ ไม่
พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ ทั้งเป็นผู้มี
ความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย อุปมาเหมือนบุรุษนั้นผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะ
แสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ไป
เข้าใจกระพี้ว่า 'แก่นไม้' จึงถากนำไป และกิจที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่เขา ฉันใด บุคคลนี้ตถาคตเรียกว่า มีอุปมาฉันนั้น

แก่นแห่งพรหมจรรย์

[322] บุคคลบางพวกในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย
คิดว่า 'เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำอย่างไร
การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้' เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะ
และความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่
ปลื้มใจ และมีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรม
เหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ ทั้งเป็นผู้มีความ
ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะ
ความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความ
สมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งศีล ทั้งเป็นผู้มีความ
ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ
เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะ
ความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ
พยายาม เพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :354 }