เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 10. จูฬสาโรปมสูตร

ปูรณะ กัสสปะ1 มักขลิ โคสาล2 อชิตะ เกสกัมพล3 ปกุธะ กัจจายนะ4
สัญชัย เวลัฏฐบุตร5 นิครนถ์ นาฏบุตร6 สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดรู้อย่าง
ชัดเจนตามปฏิญญาของตน ๆ หรือทุกคนไม่รู้อย่างชัดเจนเลย หรือว่าบางพวกรู้
อย่างชัดเจน บางพวกไม่รู้อย่างชัดเจน"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่ว่าสมณพราหมณ์
พวกนั้นทั้งหมดรู้อย่างชัดเจน ตามปฏิญญาของตน ๆ หรือทุกคนไม่รู้อย่างชัดเจน
เลย หรือว่าบางพวกรู้อย่างชัดเจน บางพวกไม่รู้อย่างชัดเจนนั้น จงงดไว้เถิด เรา
จักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว"
ปิงคลโกจฉพราหมณ์ทูลสนองรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า

เชิงอรรถ :
1 คำว่า ปูรณะ เป็นชื่อของเขา เหตุที่มีชื่ออย่างนั้นเพราะเขาเป็นทาสคนที่ครบร้อยพอดี คำว่า กัสสปะ
เป็นชื่อโคตร รวมทั้งชื่อและโคตรเรียกว่า ปูรณกัสสปะ (ที.สี.อ. 1/151/130, ม.มู.อ. 2/312/140)
2 คำว่า มักขลิ เป็นชื่อที่ 1 ของเขา เหตุที่มีชื่ออย่างนั้นเพราะเขาเป็นคนถือหม้อน้ำมันเดินตามทางที่มี
เปือกตม มักจะได้รับคำเตือนจากนายว่า มา ขลิ (อย่าลื่นนะ) คำว่า โคสาล เป็นชื่อที่ 2 เพราะเขาเกิด
ในโรงโค (ที.สี.อ. 1/152/131, ม.มู.อ. 2/312/140)
3 คำว่า อชิตะ เป็นชื่อของเขา และได้ชื่อว่าเกสกัมพล ก็เพราะนุ่งห่มผ้าที่ทำด้วยผมของมนุษย์ (ที.สี.อ.
1/153/131, ม.มู.อ. 2/312/141)
4 คำว่า ปกุธะ เป็นชื่อของเขา คำว่า กัจจายนะ เป็นชื่อโคตรเรียกรวมทั้งชื่อและโคตรว่า ปกุธกัจจายนะ
(ที.สี.อ. 1/154/132, ม.มู.อ. 2/312/141)
5 คำว่า สัญชัย เป็นชื่อของเขา คำว่า เวลัฏฐบุตร เป็นชื่อที่ 2 เพราะเป็นบุตรของช่างสาน (ที.สี.อ.
1/155/132, ม.มู.อ. 2/312/141)
6 คำว่า นิครนถ์ เป็นชื่อของเขา ที่มีชื่ออย่างนั้นเพราะเขามักกล่าวว่า 'เราไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด' คำว่า นาฏบุตร
เป็นอีกชื่อหนึ่งของเขา เพราะเขาเป็นบุตรของนักฟ้อน (ที.สี.อ. 1/156/132, ม.มู.อ. 2/312/141)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :349 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 10. จูฬสาโรปมสูตร

บุคคลผู้แสวงหาแก่นไม้

[313] "พราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวง
หาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ กระพี้
เปลือก และสะเก็ดไป เข้าใจกิ่งและใบว่า 'แก่นไม้' จึงตัดนำไป บุรุษผู้มีตาดี
เห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้นี้ไม่รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด
กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมี
ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ กระพี้ เปลือก และสะเก็ดไป
เข้าใจกิ่งและใบว่า 'แก่นไม้' จึงตัดนำไป และกิจที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่เขา'
[314] อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่
เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ กระพี้ และเปลือกไป
เข้าใจสะเก็ดว่า 'แก่นไม้' จึงถากนำไป บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
'ท่านผู้นี้ไม่รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ผู้ต้องการ
แก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมอง
ข้ามแก่นไม้ กระพี้ และเปลือกไป เข้าใจสะเก็ดว่า 'แก่นไม้' จึงถากนำไป และกิจ
ที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา'
[315] อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่
เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ และกระพี้ไป เข้าใจ
เปลือกว่า 'แก่นไม้' จึงถากนำไป บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
'ท่านผู้นี้ไม่รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ผู้
ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่
กลับมองข้ามแก่นไม้ และกระพี้ไป เข้าใจเปลือกว่า 'แก่นไม้' จึงถากนำไป และกิจ
ที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา'
[316] อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่
เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ไป เข้าใจกระพี้ว่า 'แก่นไม้'
จึงถากนำไป บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้นี้ไม่รู้จักแก่นไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :350 }