เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 8. มหาหัตถิปโทปมสูตร

ปฏิจจสมุปปันนธรรม

[306] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้ เถาวัลย์ หญ้า และดินเหนียว
มาประกอบเข้ากันจึงนับว่า 'เรือน' แม้ฉันใด อากาศอาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ
และหนังมาประกอบเข้าด้วยกันจึงนับว่า 'รูป' ฉันนั้น
หากจักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มา
สู่คลองจักษุ ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นก็ไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิด
จากจักษุและรูปนั้นก็ไม่ปรากฏ
หากจักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่
คลองจักษุ แต่ความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิดจาก
จักษุและรูปนั้นก็ไม่ปรากฏ
แต่เมื่อใด จักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอก
มาสู่คลองจักษุ ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปก็มี เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่
เกิดจากจักษุและรูปนั้น ย่อมปรากฏด้วยอาการอย่างนี้
รูปแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในรูปูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือรูป) เวทนา
แห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในเวทนูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือเวทนา) สัญญาแห่ง
สภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสัญญูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือสัญญา) สังขารแห่ง
สภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสังขารูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือสังขาร) วิญญาณแห่ง
สภาพอย่างนั้นจัดเข้าในวิญญาณูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) ภิกษุนั้น
ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า 'การรวบรวม การประชุม และหมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ 5
ประการนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้'
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า 'ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท' อุปาทานขันธ์ 5
ประการนี้ ชื่อว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี
ความหมกมุ่นฝังใจในอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ ชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัด
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ ชื่อว่าทุกขนิโรธ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่า
ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :338 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 8. มหาหัตถิปโทปมสูตร

หากโสตะที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...
หากฆานะที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...
หากชิวหาที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...
หากกายที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...
หากมโนที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะ
ภายนอกไม่มาสู่คลองมโน ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่มี
วิญญาณส่วนที่เกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่ปรากฏ
หากมโนที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภาย
นอกมาสู่คลองมโน แต่ความใส่ใจอันเกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นไม่มี วิญญาณ
ส่วนที่เกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่ปรากฏ
แต่เมื่อใด มโนที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลายธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะ
ภายนอกมาสู่คลองมโน ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็มี เมื่อนั้น
วิญญาณส่วนที่เกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้น ย่อมปรากฏด้วยอาการอย่างนี้
รูปแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในรูปูปาทานขันธ์ เวทนาแห่งสภาพอย่างนั้นจัด
เข้าในเวทนูปาทานขันธ์ สัญญาแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสัญญูปาทานขันธ์
สังขารทั้งหลายแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณแห่งสภาพ
อย่างนั้นจัดเข้าในวิญญาณูปาทานขันธ์ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า 'การรวบรวม
การประชุม และหมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้'
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า 'ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท' อุปาทานขันธ์ 5
ประการนี้ ชื่อว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี
หมกมุ่นฝังใจในอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ ชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความ
กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอุปาทาน-
ขันธ์ 5 ประการนี้ ชื่อว่าทุกขนิโรธ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตาม
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างมากแล้ว"
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิต
ของท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล

มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ 8 จบ