เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 8. มหาหัตถิปโทปมสูตร

ไฉนกายซึ่งตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยนี้ที่ถูกตัณหาเข้าไปยึดถือว่า 'เรา' ว่า 'ของเรา' ว่า
'เรามีอยู่' จักไม่ปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา และมีความแปรผันไปเป็นธรรมดาเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นก็ไม่มี
ความยึดถือในปฐวีธาตุภายในนี้
หากชนเหล่าอื่นจะด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนภิกษุนั้น ภิกษุนั้น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า 'ทุกขเวทนาอันเกิดจากโสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่ทุกขเวทนา
นั้นอาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้ ไม่อาศัยเหตุก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยอะไร
จึงเกิดขึ้นได้ ทุกขเวทนาอาศัยผัสสะจึงเกิดขึ้นได้' ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่า 'ผัสสะ
ไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง'
จิตของภิกษุนั้นย่อมดิ่งไป ย่อมผ่องใส ดำรงมั่นและน้อมไปในอารมณ์คือธาตุนั่นแล
หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่
น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ คือ ด้วยการทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง
การทำร้ายด้วยท่อนไม้บ้าง การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า 'กาย
นี้เป็นที่รองรับการทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง การทำร้าย
ด้วยท่อนไม้บ้าง การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง' อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ใน
พระโอวาทที่อุปมาด้วยเลื่อย1ว่า 'ภิกษุทั้งหลาย หากพวกโจรผู้ประพฤติต่ำทราม
จะพึงใช้เลื่อยที่มีที่จับ 2 ข้าง เลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้มีใจคิดร้ายแม้ในพวกโจรนั้น
ก็ไม่ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น' อนึ่ง ความเพียร
ที่เราเริ่มทำแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เราตั้งไว้แล้วจักไม่หลงลืม กายที่เราทำให้สงบ
แล้วจักไม่กระวนกระวาย จิตที่เราทำให้ตั้งมั่นแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ คราวนี้ต่อให้
มีการทำร้ายด้วยฝ่ามือ การทำร้ายด้วยก้อนดิน การทำร้ายด้วยท่อนไม้ หรือการ
ทำร้ายด้วยศัสตราที่กายนี้ก็ตาม เราก็จะทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้
ให้จงได้

เชิงอรรถ :
1 ดูข้อ 232 (กกจูปมสูตร) หน้า 244 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :331 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 8. มหาหัตถิปโทปมสูตร

เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่
อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นย่อมสลดหดหู่ใจ
เพราะเหตุนั้นว่า 'ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ
การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึก
ถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้' หญิงสะใภ้เห็น
พ่อผัวแล้วย่อมสลดหดหู่ใจ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อระลึกถึง
พระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอัน
อาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้ ย่อมสลดหดหู่ใจเพราะเหตุนั้นว่า 'ไม่เป็นลาภ
ของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ
ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้
อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้'
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม
และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมดำรงอยู่ได้ด้วยดี
ภิกษุนั้นย่อมพอใจเพราะเหตุนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างมากแล้ว

อาโปธาตุ

[303] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อาโปธาตุภายในก็มี อาโปธาตุภายนอกก็มี
อาโปธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ
เอิบอาบ ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน
เป็นของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน
อาโปธาตุภายในและอาโปธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอาโปธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึงเห็น
อาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า 'นั่นไม่ใช่ของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :332 }