เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 8. มหาหัตถิปโทปมสูตร

8. มหาหัตถิปโทปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
เปรียบเทียบอริยสัจกับรอยเท้าช้าง

[300] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้ง
หลายมากล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารี-
บุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
"ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้า
เหล่านั้นทั้งหมดรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่า 'เป็นยอดของ
รอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยเท้าขนาดใหญ่' แม้ฉันใด กุศลธรรม
ทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน นับเข้าในอริยสัจ 4
อริยสัจ 4 อะไรบ้าง คือ
1. ทุกขอริยสัจ 2. ทุกขสมุทยอริยสัจ
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ 4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
[301] ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5
ประการ เป็นทุกข์
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ 2. เวทนูปาทานขันธ์
3. สัญญูปาทานขันธ์ 4. สังขารูปาทานขันธ์
5. วิญญาณูปาทานขันธ์
รูปูปาทานขันธ์ อะไรบ้าง คือ
มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :329 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 8. มหาหัตถิปโทปมสูตร

มหาภูตรูป 4 อะไรบ้าง คือ
1. ปฐวีธาตุ 2. อาโปธาตุ
3. เตโชธาตุ 4. วาโยธาตุ

ปฐวีธาตุ

[302] ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไร
คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี
ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูป1ภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ
ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ
พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ นี้เรียกว่า
'ปฐวีธาตุภายใน'
ปฐวีธาตุภายใน และปฐวีธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง บัณฑิตควร
เห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า 'นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา' บัณฑิตครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็น
จริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิตให้คลาย
กำหนัดจากปฐวีธาตุ
เวลาที่อาโปธาตุภายนอกกำเริบย่อมจะมีได้ ในเวลานั้น ปฐวีธาตุภายนอก
จะอันตรธานไป ปฐวีธาตุภายนอกซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นยังปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความ
สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา

เชิงอรรถ :
1 อุปาทินนกรูป หมายถึงรูปมีกรรมเป็น สมุฏฐาน คำนี้เป็นชื่อของรูปที่ดำรงอยู่ภายในสรีระ ที่ยึดถือ
จับต้อง ลูบคลำได้ เช่น ผม ขน ฯลฯ อาหารใหม่ อาหารเก่า คำนี้กำหนดจำแนกหมายเอาปฐวีธาตุภายใน
แต่สำหรับอาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน พึงทราบความพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
(ม.มู.อ. 2/302/130)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :330 }