เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 7. จูฬหัตถิปโทปมสูตร

ที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่
ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
6. ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
7. ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง
พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน
มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์เหมาะแก่เวลา
[293] 8. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม1และภูตคาม2
9. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลา
วิกาล3
10. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการ
ละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
11. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้
ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
12. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
13. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
14. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ4
15. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
16. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี

เชิงอรรถ :
1 พืชคาม หมายถึงพืชพันธุ์จำพวกที่ถูกพรากจากที่แล้ว ยังสามารถงอกขึ้นได้อีก (ม.มู.อ. 2/293/116,
ที.สี.อ. 1/11/78)
2 ภูตคาม หมายถึงของเขียว หรือพืชพันธุ์อันเกิดอยู่กับที่มี 5 ชนิด คือ ที่เกิดจากเหง้า เช่นกระชาย,
เกิดจากต้น เช่น โพ, เกิดจากตา เช่น อ้อย, เกิดจากยอด เช่น ผักชี, เกิดจากเมล็ด เช่น ข้าว (ม.มู.อ.
2/293/116, ที.สี.อ. 1/11/78)
3 ฉันในเวลาวิกาล คือ เวลาที่ห้ามไว้เฉพาะแต่ละเรื่อง เวลาวิกาลในที่นี้หมายถึงผิดเวลาที่กำหนดไว้
คือตั้งแต่หลังเที่ยงวันจนถึงเวลาอรุณขึ้น (ม.มู.อ. 2/293/116, ที.สี.อ. 1/10/75)
4 ธัญญาหารดิบ ในที่นี้หมายถึงธัญชาติ 7 ชนิด คือ (1) ข้าวสาลี (2) ข้าวเปลือก (3) ข้าวเหนียว
(4) ข้าวละมาน (5) ข้าวฟ่าง (6) ลูกเดือย (7) หญ้ากับแก้ (ม.มู.อ. 2/293/117)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :324 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 7. จูฬหัตถิปโทปมสูตร

17. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
18. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
19. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
20. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
21. เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่นา และที่ดิน
22. เว้นขาดจากการรับทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
23. เว้นขาดจากการซื้อการขาย
24. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่อง
ตวงวัด
25. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
26. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว
การปล้น และการขู่กรรโชก
[294] ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง
เธอไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที นกมีปีกจะบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกของมันเป็น
ภาระบินไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย
และบิณฑบาตพออิ่มท้อง เธอจะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที ภิกษุนั้นประกอบ
ด้วยอริยสีลขันธ์นี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันไม่มีโทษภายใน
[295] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
ความสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)ครอบงำได้
จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทาง
จมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวม
แล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษา
มนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุประกอบด้วยอริยอินทรียสังวรนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสภายใน
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :325 }