เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 6. ปาสราสิสูตร

พระองค์ผู้หมดความเศร้าโศกแล้ว
โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม
จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก
และถูกชาติชราครอบงำได้ชัดเจน ฉันนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ผู้ชนะสงคราม1 ผู้นำหมู่2 ผู้ไม่มีหนี้3
ขอพระองค์โปรดลุกขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดแสดงธรรม
เพราะสัตว์ทั้งหลายจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม'

เวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว4

[283] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เรารับคำทูลอาราธนาของพรหม และเพราะ
ความมีกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ5 เมื่อตรวจดูโลกด้วยพุทธ-
จักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา6น้อย มีธุลีในดวงตามาก มีอินทรีย์
แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก
บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็น
สิ่งไม่น่ากลัว

เชิงอรรถ :
1 ผู้ชนะสงคราม หมายถึงชนะเทวบุตรมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร (ม.มู.อ. 2/282/87)
2 ผู้นำหมู่ หมายถึงสามารถนำสัตว์ข้ามที่กันดารคือชาติ(ความเกิด) และสามารถเป็นผู้นำของหมู่สัตว์คือ
เวไนยสัตว์ (ม.มู.อ. 2/282/87)
3 ผู้ไม่มีหนี้ หมายถึงไม่มีหนี้คือกามฉันทะ (ม.มู.อ. 2/282/87)
4 ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/69/39-40, วิ.ม. (แปล) 4/9/14, องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/133/202, อภิ.ก.
37/856/490
5 พุทธจักษุ หมายถึง
(1) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้
ว่าสัตว์นั้น ๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีความ
พร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่
(2) อาสยานุสยญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สภาพจิตที่นอนเนื่องอยู่ (ม.มู.อ.
2/283/87, วิ.อ. 3/9/15) และดู ขุ.ป. 31/111-115/124-128)
6 ดวงตา ในที่นี้หมายถึงปัญญาจักษุ (ม.มู.อ. 2/283/87, วิ.อ. 3/9/15)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :307 }