เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 3. ธัมมทายาทสูตร

ในปวิเวก1 บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เป็นเถระเป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ2 3
ประการ คือ เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่ 1 ว่า 'เมื่อพระศาสดาประทับ
อยู่อย่างมีวิเวก สาวกทั้งหลายไม่สนใจศึกษาวิเวก' เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ
ที่ 2 ว่า 'สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสว่า ควรละ' และ
เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่ 3 ว่า 'สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก' ภิกษุผู้เป็นเถระเป็นผู้ควรถูก
ติเตียนโดยฐานะ 3 ประการนี้ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ
ภิกษุผู้ป็นนวกะเป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ 3 ประการ คือ เป็นผู้ควรถูก
ติเตียนโดยฐานะที่ 1 ว่า 'เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก สาวกทั้งหลาย
ไม่สนใจศึกษาวิเวก' เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่ 2 ว่า 'สาวกทั้งหลายไม่ละ
ธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสว่า ควรละ' เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่ 3 ว่า
'สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ทอดธุระ
ในปวิเวก' ภิกษุผู้เป็นนวกะเป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ 3 ประการนี้
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่านี้แล เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก
สาวกทั้งหลายชื่อว่าไม่สนใจศึกษาวิเวก

ความสนใจศึกษาวิเวก

[32] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่
อย่างมีวิเวก สาวกทั้งหลายสนใจศึกษาวิเวก เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่าง
มีวิเวก สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้สนใจศึกษาวิเวก ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดา
ตรัสว่า ควรละ ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม

เชิงอรรถ :
1 ปวิเวก หมายถึงอุปธิวิเวก คือสภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และ
อภิสังขาร กล่าวคือนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. 2/45/53)
2 ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ แท้จริง คำว่า 'ฐานะ' มีความหมาย 4 นัย คือ (1) อิสสริยะ (ตำแหน่ง,
ความเป็นใหญ่) (2) ฐิติ (เป้าหมาย,ที่ตั้ง) (3) ขณะ(กาล) (4) การณะ (เหตุ) ในที่นี้หมายถึงเหตุ (ม.มู.อ.
1/31/110)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :30 }