เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 5. นิวาปสูตร

พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงดบริโภคกามคุณ 5 อันเป็น
โลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า เธอ
เหล่านั้นงดบริโภคกามคุณ 5 อันเป็นโลกามิส ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้
สมณพราหมณ์พวกที่ 2 นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเรา
ควรจะเข้าไปอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กามคุณ 5 ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ครั้นอาศัย
อยู่ใกล้ ๆ กามคุณ 5 แล้วก็ไม่เข้าไปหากามคุณ 5 ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส
ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ 5 เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ 5 ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่
มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ
5 นั้น' แล้วจึงอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กามคุณ 5 ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัย
อยู่ใกล้ ๆ กามคุณ 5 แล้วก็ไม่เข้าไปหากามคุณ 5 ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส
ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ 5 เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ 5 ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่
มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ
5 นั้น แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า 'โลกเที่ยง ฯลฯ หรือหลัง
จากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่' เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้
สมณพราหมณ์พวกที่ 3 นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเรา
ควรอาศัยอยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้วก็ไม่
เข้าไปหากามคุณ 5 ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ 5 เมื่อ
ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ 5 ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่
ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ 5 นั้น' แล้วจึงอาศัยอยู่
ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยในที่นั้นแล้วไม่เข้าไปหากามคุณ 5
ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ 5 เมื่อไม่ลืมตัวบริโภค
กามคุณ 5 ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทก็ไม่ถูกมารทำ
อะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ 5 ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณ-
พราหมณ์พวกที่ 4 นั้น จึงพ้นจากอำนาจของมารไปได้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสมณพราหมณ์พวกที่ 4 นี้เปรียบเหมือนเนื้อฝูงที่ 4 นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :292 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 5. นิวาปสูตร

แดนที่มารตามไปไม่ถึง

[271] ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า 'ได้ทำมารให้
ตาบอด1 คือ ทำลายดวงตาของมารเสียอย่างไม่มีร่องรอย ถึงการที่มารใจบาป
มองไม่เห็น'
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า 'ฯลฯ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น'
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า 'ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข' เราเรียกภิกษุนี้ว่า 'ฯลฯ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น'
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป
ก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เราเรียกภิกษุนี้ว่า 'ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายดวงตาของมารเสียอย่างไม่มี
ร่องรอย ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น'
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
'อากาศหาที่สุดมิได้' เราเรียกภิกษุนี้ว่า 'ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายดวงตา
ของมารเสียอย่างไม่มีร่องรอย ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น'

เชิงอรรถ :
1 ทำมารให้ตาบอด หมายถึงภิกษุนั้นมิได้ทำลายนัยน์ตาของมาร แต่จิตของภิกษุผู้เข้าถึงฌานที่เป็นบาทของ
วิปัสสนาอาศัยอารมณ์นี้เป็นไป (เกิดดับ) เหตุนั้น มารจึงไม่สามารถมองเห็น ทำลายดวงตาของมารเสีย
อย่างไม่มีร่องรอย หมายถึงทำลายโดยที่นัยน์ตาของมารไม่มีทาง หมดหนทาง ไม่มีที่พึ่ง ปราศจาก
อารมณ์โดยปริยายนี้ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น หมายถึงโดยปริยายนั่นเอง มารจึงไม่สามารถมอง
เห็นร่างคือญาณของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนานั้นด้วยมังสจักษุของตนได้ (ม.มู.อ. 2/271/71)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :293 }