เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 5. นิวาปสูตร

ซูบ ผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติ1ก็เสื่อม
เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อมแล้ว พวกเธอก็กลับหันหน้าเข้าหากามคุณ 5 อันเป็นโลกามิส
นั้นอีก เมื่อเข้าไปหาแล้วลืมตัวบริโภคกามคุณ 5 ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท
เมื่อประมาทก็ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ 5 นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้
แม้สมณพราหมณ์พวกที่ 2 นั้น ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่ 2 นี้เปรียบเหมือนเนื้อฝูงที่ 2 นั้น
[269] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่ 3 คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า
'สมณพราหมณ์พวกที่ 1 ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ 1 นั้น ก็
ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ และสมณพราหมณ์พวกที่ 2 คิดเห็นร่วมกันอย่าง
นี้ว่า 'สมณพราหมณ์พวกที่ 1 ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ 1 นั้น
ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงดบริโภคกามคุณ 5 อันเป็น
โลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า' แล้ว
จึงงดบริโภคกามคุณ 5 อันเป็นโลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้วก็
หลีกไปอยู่ตามราวป่า เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นอาหารบ้าง ฯลฯ บริโภคผลไม้ที่
หล่นเองดำรงอัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่งเป็นเวลา
ที่อาหารและน้ำหมดสิ้น เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม
กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุตติ
เสื่อมแล้ว พวกเธอก็กลับหันหน้าเข้าหากามคุณ 5 อันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อ
เข้าไปหาแล้วลืมตัวบริโภคกามคุณ 5 ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาท
ก็ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ 5 นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณ-
พราหมณ์พวกที่ 2 นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเรา ควรจะ
เข้าไปอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กามคุณ 5 อันเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ใกล้ ๆ

เชิงอรรถ :
1 เจโตวิมุตติ ในที่นี้หมายถึงเพียงอัธยาศัย คือ การสละทรัพย์ ละการครองเรือนแล้วออกมาอยู่ป่า (ม.มู.อ.
2/268/70)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :290 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 5. นิวาปสูตร

แล้วก็ไม่เข้าไปหากามคุณ 5 ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ 5
เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ 5 ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็จะไม่ประมาท เมื่อ
ไม่ประมาทก็จะไม่ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ 5 นั้น' จึงอาศัยอยู่ใกล้ ๆ
กามคุณ 5 ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กามคุณ 5
แล้วไม่เข้าไปหากามคุณ 5 ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ 5
เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ 5 ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่
ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณนั้น แต่สมณพราหมณ์
เหล่านั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า 'โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด
ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่' เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ 3 นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของ
มารไปได้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสมณพราหมณ์พวกที่ 3 นี้เปรียบเหมือนเนื้อฝูง
ที่ 3 นั้น
[270] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่ 4 มีความคิดเห็นร่วมกัน
อย่างนี้ว่า 'สมณพราหมณ์พวกที่ 1 ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ 1
นั้น ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ และสมณพราหมณ์พวกที่ 2 มีความคิด
เห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า 'สมณพราหมณ์พวกที่ 1 ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณ-
พราหมณ์พวกที่ 1 นั้น ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเราควร
งดบริโภคกามคุณ 5 อันเป็นโลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้ว
ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า เธอเหล่านั้นงดเว้นจากกามคุณ 5 ที่เป็นโลกามิส
โดยสิ้นเชิง ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่ 2 นั้นก็ไม่พ้นจาก
อำนาจของมารไปได้
อนึ่ง สมณพราหมณ์พวกที่ 3 มีความคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า 'สมณพราหมณ์
พวกที่ 1 ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ 1 นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจ
ของมารไปได้ และสมณพราหมณ์พวกที่ 2 มีความคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า
'สมณพราหมณ์พวกที่ 1 ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ 1 นั้นก็ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :291 }