เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 5. นิวาปสูตร

ฝูงเนื้อที่ถูรอดมือนายพราน

[265] ภิกษุทั้งหลาย เนื้อฝูงที่ 4 คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่าเนื้อฝูงที่ 1
ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้เนื้อฝูงที่ 1 ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้
และเนื้อฝูงที่ 2 คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า 'เนื้อฝูงที่ 1 ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูง
ที่ 1 นั้นก็ไม่รอกพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงด
กินหญ้า โดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า'
แล้วจึงงดกินหญ้า โดยสินเชิง ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ 2 นั้นก็ไม่รอด
พ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้
อนึ่ง เนื้อฝูงที่ 3 คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า 'เนื้อฝูงที่ 1 ฯลฯ เมื่อเป็น
เช่นนี้ 'เนื้อฝูงที่ 1 นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานไปได้ และเนื้อฝูงที่ 2
คิดเห็นร่วมกกันอย่างนี้ว่า 'เนื้อฝูงที่ 1 ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ 1 นั้นก็ไม่รอด
พ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี เราควรงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง เมื่อ
งดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า' แล้วจึงงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง ฯลฯ
เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ 2 นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้
ทางที่ดี พวกเราควรซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นแล้ว
เราจะไม่เข้าไปยังทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น จะไม่ลืมตัวกินหญ้า เมื่อไม่เข้าไปแล้ว
ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็จักไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ เมื่อไม่เลินเล่อ
ก็จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น' แล้วจึงเข้าไปซุ่ม
อาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้า
นั้นแล้วไม่เข้าไปสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่
เข้าไปยังทุ่งหญ้านั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็ไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็ไม่เลินเล่อ
เมื่อไม่เลินเล่อก็ไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น
ครั้งนั้น นายพรานเนื้อกับบริวารมีความคิดว่า 'เนื้อฝูงที่ 3 นี้เป็นสัตว์ฉลาด
เหมือนมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา ฯลฯ นายพรานเนื้อกับบริวารก็ได้พบที่อยู่ของ
เนื้อฝูงที่ 3 ในที่ซึ่งเขาจะไปจับพวกมันได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ 3 นั้นก็ไม่
รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรอาศัยอยู่ในที่ซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :287 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 5. นิวาปสูตร

นายพรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึง ครั้นแล้วไม่ควรเข้าไปยังทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อ
ปลูกไว้นั้น เมื่อไม่ลืมตัวกินหญ้าก็จักไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ
เมื่อไม่เลินเล่อก็จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น' แล้ว
จึงซุ่มอาศัยอยู่ในที่ซึ่งนายพรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึง ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว
ก็ไม่เข้าไปยังทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไป
ยังทุ่งหญ้านั้นไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็ไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ เมื่อไม่
เลินเล่อก็จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พรานเนื้อกับบริวารคิดเห็นว่า 'เนื้อฝูงที่ 4 นี้เป็นสัตว์
ฉลาดเหมือนมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ อนึ่ง เราไม่ทราบ
ทางมาและทางไปของพวกมันเลย ทางที่ดี พวกเราควรเอาไม้มาขัดเป็นตาข่าย
ล้อมรอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้โดยรอบ บางทีเราจะพบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ 4 ในที่ซึ่ง
เราจะไปจับพวกมันได้' พวกเขาจึงเอาไม้มาขัดเป็นตาข่ายล้อมรอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้
นั้น แต่ก็ไม่พบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ 4 ในที่ซึ่งตนจะไปจับเอา ครั้งนั้น นายพรานเนื้อ
กับบริวารจึงคิดตกลงใจว่า 'ถ้าเราจักขืนรบกวนเนื้อฝูงที่ 4 ให้ตกใจ เนื้อเหล่านั้น
ที่ถูกเราทำให้ตกใจแล้วก็จะพลอยทำให้เนื้อฝูงอื่น ๆ ตกใจไปด้วย ฝูงเนื้อทั้งหลายคง
จะไปจากทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้จนหมดสิ้น ทางที่ดี พวกเราควรวางเฉยในเนื้อฝูงที่ 4 เสีย
เถิด' นายพรานเนื้อกับบริวารก็วางเฉยเนื้อฝูงที่ 4 เสีย เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ 4
จึงรอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้
[266] ภิกษุทั้งหลาย เราจะเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ในคำเปรียบเทียบนั้น มีคำอธิบายดังต่อไปนี้
คำว่า ทุ่งหญ้า นั้นเป็นชื่อแห่งกามคุณ 5
คำว่า นายพรานเนื้อ นั้นเป็นชื่อของมารผู้มีบาป
คำว่า บริวารของนายพรานเนื้อ นั้นเป็นชื่อของบริวารของมาร
คำว่า ฝูงเนื้อ นั้นเป็นชื่อของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :288 }