เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 5. นิวาปสูตร

เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงถามว่า
"ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายรู้จักท่านว่าอย่างไร"
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า "ท่านผู้มีอายุ ผมชื่อว่าอุปติสสะ แต่เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายรู้จักผมว่า 'สารีบุตร"
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ผมกำลังพูดอยู่กับท่าน
ผู้เป็นสาวก ผู้ทรงคุณคล้ายกับพระบรมศาสดา มิได้ทราบเลยว่า 'ท่านชื่อว่า
สารีบุตร' ถ้าผมทราบว่า 'ท่านชื่อสารีบุตร' คำเปรียบเทียบเท่านี้ คงไม่จำเป็น
สำหรับกระผม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ปัญหาอันลึกซึ้งที่ท่านสารีบุตร
เลือกเฟ้นมาถามแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้งตามอย่างพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึง
คำสอนของพระบรมศาสดาโดยถ่องแท้จะพึงถามฉะนั้น เป็นลาภอย่างมากของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายได้ดีแล้วที่ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้
ท่านพระสารีบุตร แม้หากเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะเทิดทูนท่านพระสารีบุตรไว้
บนศีรษะเหมือนเทริดผ้า จึงจะได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็เป็นลาภอย่างมาก
ของท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง นับว่าเป็นลาภอย่างมากของผมด้วย
ผมได้ดีแล้วด้วย ที่ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ท่านสารีบุตร"
พระมหานาคทั้ง 2 รูปนั้นต่างชื่นชมภาษิตของกันและกัน ดังนี้แล

รถวินีตสูตรที่ 4 จบ

5. นิวาปสูตร
ว่าด้วยเหยื่อล่อเนื้อ

[261] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย นายพรานเนื้อมิได้ปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อด้วยคิดว่า 'เมื่อ
ฝูงเนื้อกินหญ้าที่เราปลูกไว้นี้จะมีอายุยั่งยืน มีผิวพรรณดี มีชีวิตอยู่ยืนนาน' ที่แท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :284 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 5. นิวาปสูตร

นายพรานเนื้อปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อด้วยมีความประสงค์ว่า 'ฝูงเนื้อที่เข้ามาสู่ทุ่งหญ้า
ที่เราปลูกไว้นี้แล้วจักลืมตัวกินหญ้า เมื่อเข้ามาแล้วลืมตัวกินหญ้าก็จักเผลอตัว เมื่อ
เผลอตัวก็จักเลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็จักถูกเราทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านี้'

ฝูงเนื้อที่ถูกนายพรานจับ

[262] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาฝูงเนื้อเหล่านั้น เนื้อฝูงที่ 1 เข้าไปสู่ทุ่งหญ้า
ที่นายพรานปลูกไว้แล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็เผลอตัว
เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบใน
ทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ 1 นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อ
ไปได้
[263] ภิกษุทั้งหลาย เนื้อฝูงที่ 2 คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า 'เนื้อฝูงที่ 1
ที่เข้าไปในทุ่งหญ้าของนายพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกิน
หญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ
ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ 1 ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจ
ของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี เราควรงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้า
ที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า' แล้วจึงงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง เมื่องดกิน
หญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่งเป็น
เวลาที่หญ้าและน้ำหมดสิ้นแล้ว ฝูงเนื้อฝูงนั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกาย
ซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่
ทุ่งหญ้าที่นายพรานนั้นปลูกไว้อีก เนื้อฝูงนั้นพากันเข้าไปในทุ่งหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่
เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูก
นายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ 2
ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้
[264] ภิกษุทั้งหลาย เนื้อฝูงที่ 3 คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า 'เนื้อฝูงที่ 1
เข้าไปในทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ 1 ก็ไม่รอด
พ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ และเนื้อฝูงที่ 2 คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :285 }