เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 4. รถวินีตสูตร

"ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ"
"ข้อนี้ หามิได้"
"ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ"
"ข้อนี้ หามิได้"
"ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ"
พระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า "ข้อนี้ หามิได้ ท่านผู้มีอายุ"
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุ เมื่อผมถามท่านว่า 'สีลวิสุทธิ
เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ' ท่านก็ตอบผมว่า 'ข้อนี้ หามิได้'
เมื่อผมถามท่านว่า 'จิตตวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ' ท่านก็ตอบ
ผมว่า 'ข้อนี้ หามิได้'
... 'ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ' ...
... 'กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ' ...
... 'มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ' ...
... 'ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ' ...
เมื่อผมถามท่านว่า 'ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ' ท่าน
ก็ตอบว่า 'ข้อนี้ หามิได้'
เมื่อผมถามท่านว่า 'ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ'
ท่านก็ตอบผมว่า 'ข้อนี้ หามิได้'
(เมื่อเป็นเช่นนี้) จะพึงเห็นเนื้อความของคำที่ท่านกล่าวแล้วนี้ได้อย่างไร"
[258] ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสีลวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรมที่
ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติจิตตวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรม
ที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :280 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 4. รถวินีตสูตร

ถ้าทรงบัญญัติทิฏฐิวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรมที่
ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติกังขาวิตรณวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติ
ธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่า
พึงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่า
พึงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึง
บัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ท่านผู้มีอายุ ถ้าธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว
ปุถุชนก็จะพึงปรินิพพาน เพราะว่าปุถุชนเว้นจากธรรมเหล่านี้ ผมจะเปรียบเทียบ
ให้ท่านฟัง คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วย
อุปมาโวหาร

เปรียบเทียบวิสุทธิด้วยรถ 7 ผลัด

[259] ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศลกำลังประทับอยู่ที่
กรุงสาวัตถี มีพระราชกรณียกิจด่วนบางประการเกิดขึ้นที่เมืองสาเกต และใน
ระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้นจะต้องต่อรถถึงเจ็ดผลัด
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัด
ที่หนึ่ง ที่ประตูพระราชวัง เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่ 3
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่สี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :281 }