เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 4. รถวินีตสูตร

[256] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า
"ท่านพระสารีบุตร พระปุณณมันตานีบุตรที่ท่านสรรเสริญอยู่เนือง ๆ นั้น (บัดนี้)
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ท่านก็ชื่นชม ยินดีพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ แล้วหลีก
ไปสู่ป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนในเวลากลางวัน"
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรรีบถือผ้านิสีทนะ(ผ้ารองนั่ง) แล้วติดตามท่าน
พระปุณณมันตานีบุตรไปข้างหลัง ๆ พอที่จะแลเห็นศีรษะกัน ครั้งนั้น ท่านพระ
ปุณณมันตานีบุตร เข้าไปในป่าอันธวัน แล้วนั่งพักผ่อนในเวลากลางวันอยู่ที่โคนไม้
แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระสารีบุตรเข้าไปสู่ป่าอันธวัน แล้วก็นั่งพักผ่อนในเวลากลางวัน
อยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งเหมือนกัน

เป้าหมายแห่งพรหมจรรย์ตามลำดับวิสุทธิ 7

ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น1 แล้วเข้าไปหาท่าน
พระปุณณมันตานีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระปุณณมันตานีบุตรว่า
[257] "ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคของเราหรือ"
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า "ขอรับ ท่านผู้มีอายุ"
"ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อสีลวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งศีล) หรือ"
"ข้อนี้ หามิได้"

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 81 (สัลเลขสูตร) หน้า 70 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :277 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 4. รถวินีตสูตร

"ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อจิตตวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งจิต) หรือ"
"ข้อนี้ หามิได้"
"ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทิฏฐิวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งทิฏฐิ) หรือ"
"ข้อนี้ หามิได้"
"ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย) หรือ"
"ข้อนี้ หามิได้"
"ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อมัคคามัคคญาณ-
ทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง) หรือ"
"ข้อนี้ หามิได้"
"ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อปฏิปทาญาณทัสสน-
วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นทางดำเนิน) หรือ"
"ข้อนี้ หามิได้"
"ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อญาณทัสสนวิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ) หรือ"
"ข้อนี้ หามิได้"
"เมื่อผมถามท่านว่า 'ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อสีลวิสุทธิ
หรือ' ท่านก็ตอบผมว่า 'ข้อนี้ หามิได้'
เมื่อผมถามท่านว่า 'ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อจิตต-
วิสุทธิหรือ' ท่านก็ตอบผมว่า 'ข้อนี้ หามิได้'
เมื่อผมถามท่านว่า 'ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทิฏฐิ-
วิสุทธิหรือ' ท่านก็ตอบผมว่า 'ข้อนี้ หามิได้'

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :278 }