เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 3. วัมมิกสูตร

12. คำว่า เต่า นั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์1 5 ประการ คือ

รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

คำนั้นมีอธิบายว่า 'สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานำเต่าขึ้นมา คือ จงละ
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ จงขุดขึ้นมา'
13. คำว่า เขียงหั่นเนื้อ นั้น เป็นชื่อแห่งกามคุณ 5 ประการ คือ
รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
คำนั้นมีอธิบายว่า 'สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกเขียงหั่นเนื้อขึ้นมา คือ
จงละกามคุณ 5 ประการ จงขุดขึ้นมา'
14. คำว่า ชิ้นเนื้อ นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ(ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความเพลิดเพลิน) คำนั้นมีอธิบายว่า 'สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราหยิบ
ชิ้นเนื้อขึ้นมา คือ จงละนันทิราคะ จงขุดขึ้นมา'

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 91 (สัมมาทิฏฐิสูตร) หน้า 86 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :272 }