เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 3. ธัมมทายาทสูตร

3. ธัมมทายาทสูตร
ว่าด้วยทายาทแห่งธรรม

[29] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้พระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเรา อย่าเป็นอามิส-
ทายาทเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่า 'ทำอย่างไรหนอ สาวกทั้งหลาย
ของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท' หากเธอทั้งหลายเป็นอามิส-
ทายาทของเรา ไม่เป็นธรรมทายาท เพราะข้อนั้น เธอทั้งหลายจะพึงถูกวิญญูชน
ทั้งหลายติเตียนว่า 'สาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทอยู่ ไม่เป็นธรรมทายาท'
แม้เราก็จะพึงถูกวิญญูชนทั้งหลายติเตียนว่า 'สาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทอยู่
ไม่เป็นธรรมทายาท' หากเธอทั้งหลายจะพึงเป็นธรรมทายาทของเรา ไม่เป็น
อามิสทายาท เพราะข้อนั้น เธอทั้งหลายจะไม่พึงถูกวิญญูชนทั้งหลายติเตียนว่า
'สาวกของพระศาสดาเป็นธรรมทายาทอยู่ ไม่เป็นอามิสทายาท' แม้เราก็จะไม่พึง
ถูกวิญญูชนทั้งหลายติเตียนว่า 'สาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทอยู่ ไม่เป็น
ธรรมทายาท'
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด
อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เพราะเราก็มีความเอ็นดูในเธอทั้งหลายอยู่ว่า 'ทำ
อย่างไรหนอ สาวกทั้งหลายของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท'
[30] ภิกษุทั้งหลาย หากเราจะพึงเป็นผู้ฉันเสร็จห้ามภัตเรียบร้อยแล้ว
สิ้นสุดภัตกิจ มีความสุขตามความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาตของเรายังมีเหลือ
จะต้องทิ้ง ในเวลานั้น ภิกษุ 2 รูปถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำพากันมา
เราควรกล่าวกับภิกษุทั้ง 2 รูปนั้นอย่างนี้ว่า 'ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้ฉันเสร็จ
ห้ามภัตเรียบร้อยแล้ว สิ้นสุดภัตกิจ มีความสุขตามความต้องการแล้ว แต่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :27 }