เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 2. อลคัททูปมสูตร

ภิกษุเป็นผู้ไม่มีบานประตู เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ1 ได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่มีบานประตู เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ ลดธงคือมานะลงแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ปราศจาก
สังโยชน์แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะ(การถือตัว) ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ ลดธงคือมานะลงแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
ปราศจากสังโยชน์แล้ว เป็นอย่างนี้
การไม่ยึดถือ
[246] ภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม และ
มารเสาะหาภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่พบว่า 'วิญญาณของตถาคต2
อาศัยสิ่งนี้' ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวว่า 'ในปัจจุบัน ใคร ๆ จะไม่พึง
พบตถาคต' สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวตู่เราผู้กล่าวอย่างนี้ ผู้บอกอย่างนี้ด้วย
คำเท็จซึ่งเลื่อนลอย ไม่มีจริง ไม่เป็นจริงว่า 'พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด ย่อมบัญญัติ

เชิงอรรถ :
1 โอรัมภาคิยสังโยชน์ หมายถึงสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ [คือ (1) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นอัตตา
(2) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (3) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและวัตร (4) กามราคะ ความติดใจ
ในกามคุณ (5) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ อันเป็นเหตุให้เกิดในกามภพ (ม.มู.อ. 2/245/22)
2 คำว่า ตถาคต ในข้อนี้มีความหมาย 2 นัย คือ นัยที่ 1 ตถาคต ในคำว่า 'วิญญาณของตถาคตอาศัยสิ่งนี้'
หมายถึงสัตว์ผู้สิ้นอาสวะ ทรงมุ่งใช้เพื่อตรัสเรียกแทนพระขีณาสพผู้ไม่มีปฏิสนธิปรินิพพานแล้ว นัยที่ 2 ตถาคต
ในคำว่า 'ถ้าบุคคลเหล่าอื่นด่าบริภาษ ... กระทบกระทั่งตถาคต ...' หมายถึงพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ผู้สิ้นอาสวะ ทรงมุ่งใช้เพื่อตรัสเรียกแทนพระองค์เอง แต่เมื่อว่าโดยสภาวธรรมแล้ว ทั้ง 2 นัย
นั้นมีความหมายเดียวกัน คือสภาวะที่สิ้นอาสวะ และปรินิพพาน จิตของผู้สิ้นอาสวะปรินิพพานแล้ว
เทวดา มาร พรหม ไม่สามารถจะค้นพบได้ ไม่สามารถจะรู้ได้ว่า 'อาศัยอารมณ์อะไรเป็นไป' (ม.มู.ฏีกา
2/246/120)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :263 }