เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 2. อลคัททูปมสูตร

สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่" ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหา
อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับอริฏฐภิกษุผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งดังนี้ว่า "ท่านอริฏฐะ ได้ทราบว่า ทิฏฐิชั่วเช่นนี้ได้
เกิดขึ้นแก่ท่านว่า 'เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่า
ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่อ
อันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่' จริงหรือ"
อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งกล่าวว่า "เหมือนจะเป็นอย่างนั้น
ท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้
ซ่องเสพได้จริงไม่"
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งจากทิฏฐิชั่วนี้ จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนด้วยคำพูดว่า "ท่านอริฏฐะ
ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการ
ต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
'กามทั้งหลาย1มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) 2/417/526-527, องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/76/134, ขุ.ม. (แปล) 29/3/7-8,
ขุ.จู. (แปล) 30/147/469-470

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :246 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 2. อลคัททูปมสูตร

กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น1 ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่"
อริฏฐภิกษุถูกภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้ แต่ก็ยังกล่าว
ด้วยความยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิชั่วนั้นอยู่อย่างนั้นว่า "เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่าน
ทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตาม
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่อง
เสพได้จริงไม่"

อริฏฐภิกษุคัดค้านพระธรรม

[235] เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งจากทิฏฐิชั่วนั้นได้ จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งว่า 'เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่า
ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่' ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังว่า 'ได้ยินว่า ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิด

เชิงอรรถ :
1 ผลไม้คาต้น หมายถึงกามทั้งหลาย เปรียบเหมือนผลไม้มีพิษ เพราะบั่นทอนร่างกาย [วิสรุกฺขผลูปมา
สพฺพงฺคปจฺจงฺคปลิภญฺชนฏฺเฐน] (ม.มู.อ. 2/234/10)
อีกนัยหนึ่ง คนที่ต้องการผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้ เมื่อพบต้นไม้ผลดกจึงปีนขึ้นไปเก็บกิน เก็บใส่ห่อ
อีกคนหนึ่งก็ต้องการผลไม้เช่นกัน เที่ยวแสวงหา พบเห็นต้นไม้ผลดกต้นเดียวกันนั้น แต่แทนที่จะปีนขึ้นไป
เก็บผลไม้กิน กลับเอาขวานตัดต้นไม้ผลดกนั้นในขณะที่คนแรกยังอยู่บนต้นไม้ อันตรายจึงเกิดขึ้นแก่เขา
(ดู. ม.ม. (แปล) 13/48/45-46)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :247 }