เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 1. กกจูปมสูตร

นางจึงกล่าวอีกว่า 'เฮ้ย นางชาติชั่ว เมื่อไม่มีอะไร ทำไมจึงตื่นสายเล่า'
แล้วโกรธ ไม่พอใจ แผดเสียงด้วยความขุ่นเคือง
ลำดับนั้น นางกาลีได้คิดว่า 'นายหญิงของเราไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ใน
ภายในเท่านั้น ไม่ใช่หล่อนไม่มีความโกรธ ที่ไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้
ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่หล่อนไม่มีความโกรธ ทาง
ที่ดี เราจะต้องทดลองให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก' ต่อมา นางกาลีก็ตื่นสายยิ่งกว่าทุกวัน
ครั้งนั้น หญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกาก็ร้องตวาดด่านางกาลีว่า 'เฮ้ย นางกาลี
ชาติชั่ว'
นางกาลีขานรับว่า 'อะไรเจ้าค่ะ นายหญิง'
นางเวเทหิกาถามว่า 'เฮ้ย ทำไมจึงตื่นสายนัก'
นางกาลีตอบว่า 'ไม่มีอะไรเจ้าค่ะ'
นางจึงกล่าวอีกว่า 'เฮ้ย นางชาติชั่ว เมื่อไม่มีอะไร ทำไมจึงตื่นสายเล่า'
แล้วโกรธจัด คว้าลิ่มประตูขว้างศีรษะ ปากก็ด่าว่า 'ข้าจะตีหัวเอ็งให้แตก'
คราวนั้น นางกาลีหัวแตกมีเลือดไหลโชก เที่ยวโพนทะนาแก่คนบ้านใกล้
เรือนเคียงว่า 'พ่อคุณแม่คุณทั้งหลาย ขอเชิญดูการกระทำของคนเรียบร้อย เจียมตน
ใจเย็นเถิด นางโกรธไม่พอใจว่าตื่นสาย จึงคว้าลิ่มประตูขว้างศีรษะของสาวใช้คนหนึ่ง
ปากก็ด่าว่า 'ข้าจะตีหัวเอ็งให้แตก'
ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่นั้นมา กิตติศัพท์อันชั่วช้าของหญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกา
ก็ขจรไปอย่างนี้ว่า 'หญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกา เป็นหญิงดุร้าย ไม่เจียมตน ใจร้อน'
แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เรียบร้อยนักเรียบร้อยหนา
เจียมตนนักเจียมตนหนา ใจเย็นนักใจเย็นหนา ก็เพียงชั่วเวลาที่ถ้อยคำอันไม่เป็นที่
พอใจไม่มากระทบเท่านั้น แต่เมื่อใด ถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจมากระทบเธอเข้า เมื่อนั้น
ควรทราบว่า 'เธอเป็นผู้เรียบร้อย เป็นผู้เจียมตน เป็นผู้ใจเย็นจริง'1 ภิกษุที่ทำตน

เชิงอรรถ :
1 ข้อความนี้มีความหมายว่า เมื่อใด ถ้อยคำที่ไม่น่าพอใจมากระทบโสตประสาทเธอเข้า แล้วเธอสามารถ
ดำรงอยู่ในอธิวาสนขันติ(ความอดทนคือความอดกลั้น)ได้ ไม่โกรธ พึงทราบว่า เธอเป็นผู้เรียบร้อย เจียมตน
และใจเย็น (ม.มู.อ. 2/226/6)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :238 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [3. โอปัมมวรรค] 1. กกจูปมสูตร

เป็นคนว่าง่าย ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย เพราะเหตุแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร1 เราไม่เรียกว่า 'เป็นผู้ว่าง่ายเลย' ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเมื่อไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้น
ก็จะไม่เป็นผู้ว่าง่าย ไม่ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย แต่ภิกษุผู้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
นอบน้อมธรรม เป็นผู้ว่าง่าย ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย เราเรียกว่า 'เป็นผู้ว่าง่าย'
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า 'เราจักสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา นอบน้อมธรรม จักเป็นผู้ว่าง่าย จักถึงความเป็นผู้ว่าง่าย'

อุบายระงับความโกรธ

[227] ภิกษุทั้งหลาย วิธีพูดที่บุคคลอื่นจะใช้พูดกับเธอทั้งหลาย 5 ประการนี้
คือ

1. พูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
2. พูดเรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริง
3. พูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคาย
4. พูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์
5. มีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด

บุคคลอื่นเมื่อพูด จะพึงพูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะพึงพูด
เรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ตาม จะพึงพูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม
จะพึงพูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์ก็ตาม จะพึงมีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด
ก็ตาม ในข้อนั้น เธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า 'จิตของเราจักไม่แปรผัน
เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มี
เมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปให้บุคคลนั้นอยู่ และเราจักแผ่เมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ2 ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนไปยังสัตว์โลก
ทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของเมตตาจิตนั้นอยู่'
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 3 ข้อ 23 (สัพพาสวสูตร) หน้า 23 ในเล่มนี้
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 68 (อากังเขยยสูตร) หน้า 60 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :239 }