เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 10. วิตักกสัณฐานสูตร

ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อพิจารณาโทษแห่ง
วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ยังเกิดขึ้นอีกนั่นแล ฯลฯ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิ
ในภายในโดยแท้
[219] ภิกษุทั้งหลาย
4. หากเมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการวิตกเหล่านั้น วิตกอัน
เป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นควรมนสิการวิตักก-
สังขารสัณฐาน1 แห่งวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอมนสิการวิตักกสังขาร-
สัณฐานแห่งวิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ คนเดินเร็ว
เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า 'เราจะรีบเดินทำไม ถ้ากระไร เราควร
ค่อย ๆ เดิน' เขาก็ค่อย ๆ เดิน เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
'เราจะค่อย ๆ เดินทำไม ถ้ากระไร เราควรยืน' เขาก็ยืน เขาจะ
พึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า 'เราจะยืนอยู่ทำไม ถ้ากระไร เราควรนั่ง'
เขาจึงนั่ง เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า 'เราจะนั่งอยู่ทำไม
ถ้ากระไร เราควรนอน' เขาก็นอน คนผู้นั้นเว้นอิริยาบถหยาบ ๆ
แล้วพึงใช้อิริยาบถละเอียด ๆ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
หากเมื่อไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการวิตกเหล่านั้น วิตกอันเป็นบาปอกุศล

เชิงอรรถ :
1 วิตักกสังขารสัณฐาน หมายถึงที่ตั้งแห่งเหตุของวิตก (ม.มู.อ. 1/219/420)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :229 }