เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 10. วิตักกสัณฐานสูตร

หรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว มีผู้นำซากงู ซากสุนัข หรือซากศพ
มนุษย์มาผูกไว้ที่คอ ย่อมรู้สึกอึดอัด ระอา และรังเกียจ แม้ฉันใด
ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบ
ด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง
ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นว่า
'วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มี
โทษแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบากแม้อย่างนี้'
เมื่อเธอพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้ง
อยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น
สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
[218] ภิกษุทั้งหลาย
3. หากเมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็น
บาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นไม่ควรระลึกถึง
ไม่ควรมนสิการวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการ
วิตกเหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้
วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ คนมีตาดีไม่ต้องการที่
จะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาควรหลับตาหรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :228 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 10. วิตักกสัณฐานสูตร

ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อพิจารณาโทษแห่ง
วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ยังเกิดขึ้นอีกนั่นแล ฯลฯ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิ
ในภายในโดยแท้
[219] ภิกษุทั้งหลาย
4. หากเมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการวิตกเหล่านั้น วิตกอัน
เป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นควรมนสิการวิตักก-
สังขารสัณฐาน1 แห่งวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอมนสิการวิตักกสังขาร-
สัณฐานแห่งวิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ คนเดินเร็ว
เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า 'เราจะรีบเดินทำไม ถ้ากระไร เราควร
ค่อย ๆ เดิน' เขาก็ค่อย ๆ เดิน เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
'เราจะค่อย ๆ เดินทำไม ถ้ากระไร เราควรยืน' เขาก็ยืน เขาจะ
พึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า 'เราจะยืนอยู่ทำไม ถ้ากระไร เราควรนั่ง'
เขาจึงนั่ง เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า 'เราจะนั่งอยู่ทำไม
ถ้ากระไร เราควรนอน' เขาก็นอน คนผู้นั้นเว้นอิริยาบถหยาบ ๆ
แล้วพึงใช้อิริยาบถละเอียด ๆ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
หากเมื่อไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการวิตกเหล่านั้น วิตกอันเป็นบาปอกุศล

เชิงอรรถ :
1 วิตักกสังขารสัณฐาน หมายถึงที่ตั้งแห่งเหตุของวิตก (ม.มู.อ. 1/219/420)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :229 }