เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 9. เทฺวธาวิตักกสูตร

9. เทฺวธาวิตักกสูตร
ว่าด้วยวิตก 2 ประเภท

[206] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อน เราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
อย่างนี้ว่า 'ถ้ากระไร เราควรจัดวิตกออกเป็น 2 ประเภท1
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงได้จัดกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก
เป็นประเภทที่ 1 และจัดเนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก2 เป็น
ประเภทที่ 2

เชิงอรรถ :
1 จัดวิตกออกเป็น 2 ประเภท หมายถึงจัดวิตกฝ่ายอกุศลเป็นประเภทที่ 1 จัดวิตกฝ่ายกุศลเป็นประเภท
ที่ 2 (ม.มู.อ. 2/206/406)
2 กามวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องกาม
พยาบาทวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องปองร้ายผู้อื่น
วิหิงสาวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องเบียดเบียนผู้อื่น
เนกขัมมวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องออกจากกิเลส
อพยาบาทวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องไม่ปองร้ายผู้อื่น
อวิหิงสาวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตั้งแต่มีเมตตาเป็นส่วนเบื้องต้นจนถึงปฐมฌาน
(ม.มู.อ. 1/206/406)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :218 }