เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 8. มธุปิณฑิกสูตร

"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเช้านี้ เราครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึง
เข้าไปยังป่ามหาวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน แล้วนั่งพักผ่อนกลางวัน ณ โคนต้น
มะตูมหนุ่ม แม้ทัณฑปาณิศากยะก็เดินเที่ยวชมทิวทัศน์เข้าไปยังป่ามหาวัน ครั้น
แล้วจึงเข้าไปหาเราจนถึงต้นมะตูมหนุ่ม ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ได้ยืนขึ้นยันไม้เท้าลง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ถามเราว่า
'พระสมณะ มีปกติกล่าวอย่างไร บอกอย่างไร' เมื่อทัณฑปาณิศากยะกล่าวอย่าง
นั้นแล้ว เราได้ตอบว่า 'ผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างใดจึงจะไม่โต้เถียงกับใคร ๆ
ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์แล้วดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายย่อมไม่ครอบงำ
พราหมณ์ผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลาย ผู้ไม่มีความสงสัย ผู้ตัดความคะนองได้
ผู้ปราศจากความทะยานอยากในภพน้อยภพใหญ่ได้โดยประการใด เรามีปกติกล่าว
อย่างนั้น บอกอย่างนั้น โดยประการนั้น' เมื่อเรากล่าวอย่างนั้นแล้ว ทัณฑปาณิ-
ศากยะสั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น 3 รอย ถือไม้เท้ายันขึ้นแล้ว
จากไป"

ทรงแสดงอุทเทส

[201] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้
มีพระภาคว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมีปกติตรัสอย่างไรจึงจะไม่
โต้เถียงกับใคร ๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์แล้วดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายจะ
ไม่ครอบงำพราหมณ์นั้นผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลาย ผู้ไม่มีความสงสัย ผู้ตัดความ
คะนองได้ ผู้ปราศจากความทะยานอยากในภพน้อยภพใหญ่ได้อย่างไร"
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า "ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา1 ย่อม
ครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ

เชิงอรรถ :
1 แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา แปลจากคำว่า ปปญฺจสญฺญาสงฺขา แยกอธิบายศัพท์ได้ดังนี้ คำว่า
ปปญฺจสญฺญา หมายถึงสัญญาอันประกอบด้วยกิเลสเป็นเหตุเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ คำว่า
สงฺขา หมายถึงแง่ต่าง ๆ ดังนั้น ปปญฺจสญฺญาสงฺขา จึงแปลว่า แง่ต่าง ๆ แห่งสัญญาอันประกอบด้วย
กิเลสเป็นเหตุเนิ่นช้า (ม.มู.อ. 1/201/401)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :210 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 8. มธุปิณฑิกสูตร

ไม่มีในเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็น
ที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็น
ที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย และเป็นที่สุดแห่งการถือท่อนไม้
การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การส่อเสียดยุยง และการ
กล่าวเท็จ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น"
ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตเจ้าได้ตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้า
ไปยังที่ประทับ
[202] ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้มี
ความสงสัยว่า "ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสนี้แก่พวกเราโดย
ย่อว่า 'ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่
บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุด
แห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่ง
วิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง
อวิชชานุสัย และเป็นที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การ
แก่งแย่ง การวิวาท การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้
ย่อมดับไปโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น' แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุก
จากพุทธอาสน์เข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทส
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้"
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความคิดขึ้นว่า "ท่านมหากัจจานะนี้ พระศาสดา
ทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะ
ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง
ชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านมหากัจจานะ
จนถึงที่อยู่ แล้วควรสอบถามเนื้อความนี้กับท่านมหากัจจานะ"
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะจนถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :211 }