เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 7. วนปัตถสูตร

[192] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง
เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็
ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย
ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า 'เราเข้ามาอยู่อาศัยป่า
ทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้ง
มั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย
ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร
ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเรา
เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
อันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ' ภิกษุนั้นรู้แล้วควรหลีกไปจากป่าทึบนั้น ไม่ควรอยู่

เหตุผลของการอยู่ป่า

[193] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อ
เธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก
ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า 'เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัย
ป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :205 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 7. วนปัตถสูตร

ก็สิ้นไป และเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร ที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่เราไม่ได้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ
เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่ง
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยัง
ไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และเราก็
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ' ภิกษุนั้นรู้แล้ว
ควรอยู่ในป่าทึบนั้น ไม่ควรหลีกไป
[194] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อเธอ
เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิด
ขึ้นได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า 'เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ เมื่อ
เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอด
เยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก'
ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่าทึบนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไป

เหตุผลการอยู่อาศัยบ้านเป็นต้น

[195] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง
ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยนครแห่งใดแห่งหนึ่ง
ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยชนบทแห่งใดแห่งหนึ่ง ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็
ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :206 }