เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 7. วนปัตถสูตร

7. วนปัตถสูตร
ว่าด้วยการอยู่ป่า

[190] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายว่าด้วย
การอยู่ป่าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว"
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[191] "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่ง
หนึ่ง เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้ง
มั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะ1 ที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ตนยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร2 ที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย
ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า 'เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้
เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่
ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้น
ได้โดยยาก' ภิกษุนั้นควรหลีกไปจากป่าทึบนั้น ไม่ควรอยู่ในเวลากลางคืน หรือใน
เวลากลางวัน

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 14 (สัพพาสวสูตร) หน้า 17 ในเล่มนี้
2 ดูเชิงอรรถที่ 3 ข้อ 23 (สัพพาสวสูตร) หน้า 23 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :204 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 7. วนปัตถสูตร

[192] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง
เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็
ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย
ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า 'เราเข้ามาอยู่อาศัยป่า
ทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้ง
มั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย
ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร
ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเรา
เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
อันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ' ภิกษุนั้นรู้แล้วควรหลีกไปจากป่าทึบนั้น ไม่ควรอยู่

เหตุผลของการอยู่ป่า

[193] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อ
เธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก
ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า 'เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัย
ป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :205 }