เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 6. เจโตขีลสูตร

ประการที่ 1 ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
2. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ 2 ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
3. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ 3 ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
4. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ 4 ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
5. เป็นผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิตไม่ถูกโทสะกระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้าง
ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิต
ไม่ถูกโทสะกระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิต
ดุจตะปูประการที่ 5 ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว
[188] กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ ที่ภิกษุนั้นตัดขาดแล้ว อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก
ความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของภิกษุผู้ปราศจากความ
กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :201 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 6. เจโตขีลสูตร

กระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยาน
อยากในกาม ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ 1 ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
2. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ 2 ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
3. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ 3 ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
4. ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มแล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการนอนเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องผูกใจประการที่ 4 ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
5. ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใด
หมู่หนึ่งว่า 'ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น
เทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง' จิตของภิกษุผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า 'ด้วยศีล วัตร
ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง'
ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ 5
ที่ภิกษุผู้น้อมจิตไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ ที่ภิกษุนั้นตัดขาดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :202 }