เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 6. เจโตขีลสูตร

4. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขใน
การนอน ความสุขในการนอนเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่
ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ 4 ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
5. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า 'ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือ
เทพตนใดตนหนึ่ง' จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความ
ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า 'ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ
พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง' ย่อมไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ 5 ที่ภิกษุผู้มีจิต
ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ ที่ภิกษุนั้นยังตัดไม่ขาด
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการนี้
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการนี้ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ยังตัดไม่ขาด เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
[187] ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ตัดขาดแล้ว เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดา จิตของ
ภิกษุผู้ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดานั้น
ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :200 }