เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 5. อนุมานสูตร

ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่
ถือรั้น สลัดได้ยาก ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถือความ
เห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของ
คนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า 'เราจักไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่
ไม่ถือรั้น จักเป็นผู้สลัดได้ง่าย'

การพิจารณาตนเอง

[184] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรม 16 ประการนั้น ภิกษุควรพิจารณา
ตนเองอย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาปจริงหรือ' ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้มีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปจริง' ภิกษุนั้น
ควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
'เรามิใช่ผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป มิใช่ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็น
บาป' ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่
ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น
จริงหรือ' ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่นจริง' ภิกษุนั้นควร
พยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เรา
เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย' ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลาย
ทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้มักโกรธ ถูกความ
โกรธครอบงำจริงหรือ' ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำจริง' ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ' ภิกษุนั้น
ผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์โดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :193 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 5. อนุมานสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้มักโกรธ
ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุจริงหรือ' ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราเป็น
ผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุจริง' ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ
ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ' ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรม
ทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้มักโกรธ
ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุจริงหรือ' ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้
มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุจริง' ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ
ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ' ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรม
ทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้มักโกรธ
เปล่งวาจาใกล้ความโกรธจริงหรือ' ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้มักโกรธ
เปล่งวาจาใกล้ความโกรธจริง' ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้
เสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ'
ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วย
ปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า 'เราถูกโจทแล้ว
กลับโต้เถียงโจทก์จริงหรือ' ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราถูกโจทแล้วกลับโต้เถียง
โจทก์จริง' ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราถูกโจทแล้วไม่โต้เถียงโจทก์' ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อ
เนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า 'เราถูกโจทแล้วกลับ
รุกรานโจทก์จริงหรือ' ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราถูกโจทแล้วกลับรุกราน
โจทก์จริง' ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า 'เราถูกโจทแล้วไม่รุกรานโจทก์' ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อ
เนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :194 }