เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 5. อนุมานสูตร

ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน
พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน
พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
'เราถูกโจทแล้วจักไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม
(ของตน) ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วไม่ยอม
อธิบายพฤติกรรม(ของตน) เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุ
เมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า 'เราถูกโจทแล้วจักยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ย่อมไ่ม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ เราก็
คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า 'เราจัก
ไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ไม่ตีเสมอ'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้ริษยา ตระหนี่ ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ริษยา ตระหนี่ เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า 'เราจักไม่ริษยา
ไม่ตระหนี่'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้โอ้อวด มีมารยา ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า 'เราจักเป็นผู้ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น ย่อมไม่เป็น
ที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า 'เราจักเป็นผู้ไม่กระด้าง
ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น'

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :192 }