เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 5. อนุมานสูตร

14. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มี
มารยานี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
15. เป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่กระด้าง
ไม่ดูหมิ่นผู้อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
16. เป็นผู้ไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น สลัดได้ง่าย
แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น
สลัดได้ง่ายนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย

การอนุมานตนเอง

[183] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรม 16 ประการนั้น ภิกษุควรอนุมาน
ตนเอง1 อย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงมีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า 'เราจักไม่เป็นผู้มีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้ยกตนข่มผู้อื่นย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า 'เราจักไม่ยกตน จักไม่ข่มผู้อื่น'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้
ควรคิดว่า 'เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ'

เชิงอรรถ :
1 ควรอนุมานตนเอง หมายถึงภิกษุควรอนุมาน เปรียบเทียบ พิจารณาตนด้วยตนเองเท่านั้น (ม.มู.อ.
1/183/390)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :190 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 5. อนุมานสูตร

ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้มักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความ
โกรธเป็นเหตุ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ
ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น'
ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า 'เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธ
เป็นเหตุ'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความ
โกรธเป็นเหตุ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ
ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น'
ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า 'เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธ
เป็นเหตุ'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้
ความโกรธ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้
ควรคิดว่า 'เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
'เราถูกโจทแล้วจักไม่โต้เถียงโจทก์'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์ เราก็
คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า 'เราถูก
โจทแล้วจักไม่รุกรานโจทก์'
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น' ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
'เราถูกโจทแล้วจักไม่ปรักปรำโจทก์'

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :191 }