เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 5. อนุมานสูตร

4. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ ก็เป็นธรรมที่
ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
5. เป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ ก็เป็นธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
6. เป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มัก
โกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
7. ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับโต้
เถียงโจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
8. ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับรุกราน
โจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
9. ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับ
ปรักปรำโจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
10. ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุ
ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏนี้ ก็เป็นธรรมที่
ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
11. ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน) แม้ข้อที่ภิกษุถูก
โจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้
เป็นผู้ว่ายาก
12. เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน
ตีเสมอนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
13. เป็นผู้ริษยา ตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ริษยา ตระหนี่นี้ ก็เป็น
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :187 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 5. อนุมานสูตร

14. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด มีมารยานี้ ก็
เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
15. เป็นผู้กระด้าง มักดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้กระด้าง มักดู
หมิ่นผู้อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
16. เป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก แม้ข้อที่
ภิกษุเป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยากนี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก

ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย

[182] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ปวารณาไว้ว่า 'ขอท่านจงว่ากล่าว
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวได้' แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่าง่าย มีธรรมที่ทำ
ให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน ยอมรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายย่อมเข้าใจภิกษุนั้นว่า เป็นผู้ควรว่ากล่าว ควรพร่ำสอน และ
ควรไว้วางใจ
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ไม่มีความปรารถนาที่เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาป แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาที่
เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปนี้ ก็
เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
2. เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้
อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
3. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้
ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้
ว่าง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :188 }