เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 4. จูฬทุกขักขันธสูตร

4. จูฬทุกขักขันธสูตร
ว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก

[175] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
ในแคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
แล้วสิ้นกาลนานอย่างนี้ว่า 'โลภะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต โทสะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต
โมหะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต' เมื่อเป็นเช่นนั้น บางคราว โลภธรรมยังครอบงำจิตของ
ข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง โทสธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง โมหธรรม
ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า 'ธรรมอะไร
เล่าที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้ในภายใน ซึ่งเป็นเหตุให้โลภธรรมยังครอบงำจิตของ
ข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง โทสธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง โมหธรรมยัง
ครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้างเป็นครั้งคราว"
[176] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "มหานามะ ธรรมในภายในนั้นแล เธอยัง
ละไม่ได้ ซึ่งเป็นเหตุให้โลภธรรมครอบงำจิตของเธอไว้ได้บ้าง โทสธรรมครอบงำจิต
ของเธอไว้ได้บ้าง โมหธรรมครอบงำจิตของเธอไว้ได้บ้างเป็นครั้งคราว ถ้าเธอจักละ
ธรรมในภายในนั้นได้แล้ว เธอก็จะไม่พึงอยู่ครองเรือน ไม่พึงบริโภคกาม แต่เพราะ
เธอละธรรมในภายในนั้นยังไม่ได้ เธอจึงยังอยู่ครองเรือน ยังบริโภคกาม
[177] แม้หากอริยสาวกเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า 'กาม
ทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่' ก็ตาม แต่
อริยสาวกนั้นก็ยังไม่บรรลุฌานที่มีปีติและสุข1ที่ปราศจากกามทั้งหลาย ปราศจาก

เชิงอรรถ :
1 ฌานที่มีปีติและสุข หมายถึงปฐมฌานและทุติยฌาน (ม.มู.อ. 1/177/386)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :177 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 4. จูฬทุกขักขันธสูตร

อกุศลธรรมทั้งหลาย หรือยังไม่บรรลุธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง 2 นั้น ดังนั้น
เขาจึงชื่อว่า จะไม่เวียนมาหากามทั้งหลายอีกก็หาไม่1 แต่เมื่อใด อริยสาวกเห็น
ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า 'กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่' อริยสาวกนั้น ย่อมบรรลุฌาน
ที่มีปีติและสุขที่ปราศจากกามทั้งหลาย ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย หรือบรรลุ
ธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง 2 นั้น เมื่อนั้น เขาจึงชื่อว่าย่อมไม่เวียนมาหากาม
ทั้งหลายอีก
มหานามะ ก่อนการตรัสรู้ แม้เมื่อครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ เราก็
เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า 'กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่' ก็ตาม แต่เราก็ยังไม่บรรลุฌาน
ที่มีปีติและสุขที่ปราศจากกามทั้งหลาย ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย หรือยังไม่
บรรลุธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง 2 นั้น ดังนั้นเราจึงปฏิญญาว่าชื่อว่าจะไม่เวียนมา
หากามทั้งหลายก็หาไม่ แต่เมื่อใด เราเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ
อย่างนี้ว่า 'กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษ
ยิ่งใหญ่' เราได้บรรลุฌานที่มีปีติและสุขที่ปราศจากกามทั้งหลาย ปราศจากอกุศล-
ธรรมทั้งหลาย หรือบรรลุธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง 2 นั้น เมื่อนั้น เราจึง
ปฏิญญาว่า ไม่เวียนมาหากามทั้งหลายอีก

คุณแห่งกาม

[178] มหานามะ อะไรเล่า เป็นคุณแห่งกามทั้งหลาย
กามคุณ 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

เชิงอรรถ :
1 ไม่เวียนมาหากามทั้งหลายอีกก็หาไม่ หมายถึงยังจะต้องกลับมาหากามทั้งหลายได้อีก เพราะไม่มี
สมุจเฉทปหาน (ละได้เด็ดขาด) ด้วยมรรค 2 (อนาคามิมรรคและอรหัตตมรรค) ทั้งนี้เพราะพระอริยสาวก
แม้จะบรรลุมรรค 2 (โสดาปัตติมรรคและสกทาคามิมรรค) แล้ว แต่ก็ยังไม่บรรลุญาณหรือมรรคเบื้องสูง
(ม.มู.อ. 1/177/386)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :178 }