เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 3. มหาทุกขักขันธสูตร

อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นสาวน้อยคนนั้นซึ่งเป็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
เหลือแต่กระดูกสีขาว เปรียบเหมือนสังข์ ฯลฯ เหลือแต่ท่อนกระดูกเป็นกอง ๆ
ตกค้างมาแรมปี ฯลฯ เป็นกระดูกผุป่นเป็นผง เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่งแต่ก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษก็ปรากฏชัดแล้ว
มิใช่หรือ"
"อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า"
"แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งรูปทั้งหลาย
อะไรเล่า เป็นการสลัดออกไปจากรูปทั้งหลาย
คือ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่าการสลัด
ออกไปจากรูปทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณแห่งรูปทั้งหลายว่าเป็นคุณ
ไม่รู้ชัดโทษแห่งรูปทั้งหลายว่าเป็นโทษ และไม่รู้ชัดการสลัดออกไปจากรูปทั้งหลาย
ว่าเป็นการสลัดออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาเหล่า
นั้นจักรอบรู้รูปทั้งหลายได้เอง หรือจักชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้อย่างนั้น และผู้ปฏิบัติ
ตามแล้วก็จักรอบรู้รูปทั้งหลายได้
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งรู้ชัดคุณแห่งรูป
ทั้งหลายว่าเป็นคุณ รู้ชัดโทษแห่งรูปทั้งหลายว่าเป็นโทษ และรู้ชัดการสลัดออกไป
จากรูปทั้งหลายว่าเป็นการสลัดออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น เป็นไปได้ที่พวก
เขาเหล่านั้นจักรอบรู้รูปทั้งหลายได้เอง หรือจักชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้อย่างนั้น และ
ผู้ปฏิบัติตามแล้วก็จักรอบรู้รูปทั้งหลายได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :174 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 3. มหาทุกขักขันธสูตร

คุณ โทษ และการสลัดออกไปจากเวทนา

[173] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ในสมัยใด ภิกษุสงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิด
จากวิเวกอยู่ ในสมัยนั้น เธอไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ไม่คิดมุ่งเบียดเบียนผู้อื่น
ทั้งไม่คิดมุ่งเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ในสมัยนั้น เธอจึงเสวยเวทนาซึ่งไม่มีการเบียดเบียน
นั่นแล เรากล่าวว่าความไม่มุ่งเบียดเบียนกัน เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ในสมัยใด เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ฯลฯ เรากล่าวว่าความไม่คิด
มุ่งเบียดเบียนกัน เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า 'ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข' ในสมัยใด เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา ฯลฯ ในสมัยนั้น
เธอย่อมไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ฯลฯ เรากล่าวว่าความไม่คิดมุ่งเบียดเบียนกัน
เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป
ก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ในสมัยใด เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ไม่คิดมุ่ง
เบียดเบียนผู้อื่น ทั้งไม่คิดมุ่งเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่าย
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าความไม่คิดมุ่งเบียดเบียนกัน เป็นคุณแห่งเวทนา
ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :175 }