เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 3. มหาทุกขักขันธสูตร

บนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง1 ชนเหล่านั้นจึงเข้าถึงความตายบ้าง
ทุกข์ปางตายบ้าง แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึง
เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุ
แห่งกามทั้งหลายนั่นแล
อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็น
เหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว หลังจากตาย
แล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ใน
สัมปรายภพ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุ
แห่งกามทั้งหลายนั่นแล
[170] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นการสลัดออกไปจากกามทั้งหลาย
คือ การกำจัดฉันทราคะ2 การละฉันทราคะในกามทั้งหลาย นี้ชื่อว่าการ
สลัดออกไปจากกามทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่รู้ชัดคุณแห่งกามทั้งหลายว่าเป็นคุณ
ไม่รู้ชัดโทษแห่งกามทั้งหลายว่าเป็นโทษ และไม่รู้ชัดการสลัดออกไปจากกาม
ทั้งหลายว่าเป็นการสลัดออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่พวก
เขาเหล่านั้นจักรอบรู้กามทั้งหลายเอง หรือจักชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้อย่างนั้น และผู้
ปฏิบัติแล้วก็จักรอบรู้กามทั้งหลายได้ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งรู้
ชัดคุณแห่งกามทั้งหลายว่าเป็นคุณ รู้ชัดโทษแห่งกามทั้งหลายว่าเป็นโทษ และรู้ชัด
การสลัดออกไปจากกามทั้งหลายว่าเป็นการสลัดออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น
เป็นไปได้ที่พวกเขาเหล่านั้นจักรอบรู้กามทั้งหลายได้เอง หรือจักชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้
อย่างนั้น และผู้ปฏิบัติตามแล้วก็จักรอบรู้กามทั้งหลายได้

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) 29/55/187-188
2 การกำจัดฉันทราคะ หมายถึงนิพพาน (ม.มู.อ. 1/170/382)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :171 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 3. มหาทุกขักขันธสูตร

คุณ โทษ และการสลัดออกไปจากรูป

[171] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นคุณแห่งรูปทั้งหลาย
คือ กษัตริย์สาว พราหมณ์สาว หรือคหบดีสาว มีอายุ 15 ปี หรือ
16 ปี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป
ไม่ขาวเกินไป แม้ฉันใด ในสมัยนั้น หญิงสาวผู้นั้นย่อมเป็นผู้งดงาม เปล่งปลั่ง
อย่างยิ่ง ฉันนั้นมิใช่หรือ"
ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลว่า "อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย การที่สุข โสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความงาม ความเปล่งปลั่ง นี้ชื่อว่าเป็นคุณแห่งรูปทั้งหลาย
อะไรเล่า เป็นโทษแห่งรูปทั้งหลาย
คือ บุคคลพึงเห็นสาวน้อยคนนั้นในโลกนี้โดยสมัยอื่นว่ามีอายุ 80 ปี 90 ปี
หรือ 100 ปีโดยกำเนิด เป็นคนแก่ มีซี่โครงคดดังกลอนเรือน มีหลังงอ ถือไม้เท้า
เดินงก ๆ เงิ่น ๆ ไป กระสับกระส่าย ผ่านวัยไปแล้ว ฟันหัก ผมหงอก หัวโกร๋น
หัวล้าน หนังเหี่ยว มีตัวตกกระ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง แต่ก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษก็ปรากฏชัดแล้วมิใช่หรือ"
"อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า"
"แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งรูปทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นสาวน้อยคนนั้นซึ่งมีอาพาธ มีทุกข์ เจ็บหนัก
นอนจมปัสสาวะและอุจจาระของตน ต้องให้ผู้อื่นพยุงลุกขึ้น ต้องให้ผู้อื่นช่วยประคอง
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่งแต่ก่อนนั้น
หายไปแล้ว โทษก็ปรากฏชัดแล้วมิใช่หรือ"
"อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า"
"แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งรูปทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :172 }