เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 3. มหาทุกขักขันธสูตร

ทั้งหลาย แม้พวกเราก็บัญญัติการละเวทนาทั้งหลาย ในข้อนี้ มีความแปลกกัน
อย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร และมีการกระทำต่างกันอย่างไร ระหว่างการ
แสดงธรรมหรือการพร่ำสอนของพระสมณโคดมกับการแสดงธรรมหรือการพร่ำสอน
ของพวกเรา' ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่อัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้วจึงลุกจากที่นั่งจากไปด้วยตั้งใจว่า
'เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำกล่าวนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค"

คุณ โทษ และการสลัดออกไปจากกาม

[165] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกล่าวตอบ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้น อย่างนี้ว่า 'อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ
อะไรเป็นการสลัดออกไปจากกามทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็น
การสลัดออกไปจากรูปทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสลัดออกไป
จากเวทนาทั้งหลาย' พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนั้นแล้ว
จักไม่พอใจ และจักต้องถึงความคับแค้นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้น
มิใช่วิสัย ภิกษุทั้งหลาย ก็ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เมื่อเว้นตถาคต สาวกของตถาคต
หรือบุคคลฟังคำสั่งสอนของเราตถาคตเสียแล้ว เรายังไม่เห็นผู้ที่จะพึงทำจิตให้ยินดี
ตอบปัญหานี้ได้
[166] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นคุณแห่งกามทั้งหลาย
คือ กามคุณ 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
3. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :167 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 3. มหาทุกขักขันธสูตร

4. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
5. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณมี 5 ประการนี้แล
การที่สุข โสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ 5 ประการ นี้ชื่อว่าเป็นคุณแห่ง
กามทั้งหลาย
[167] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย
คือ กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีวิตด้วยการมีศิลปะใด คือ ด้วยการนับคะแนน
การคำนวณ การนับจำนวน การไถ การค้าขาย การเลี้ยงโค การยิงธนู การรับ
ราชการ หรือด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง อดทนต่อความหนาว ตรากตรำต่อ
ความร้อน เดือดร้อนเพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
(และ)ตายเพราะความหิวกระหาย แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็น
กองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด
เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน พากเพียร พยายามอยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้น
ย่อมไม่สัมฤทธิผล เขาเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเพ้อว่า
'ความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราก็ไม่มีผลเลยหนอ' แม้ข้อ
นี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ
มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน พากเพียร พยายามอยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้น
ย่อมสัมฤทธิผล เขากลับเสวยทุกข์โทมนัสอันมีเหตุมาจากการรักษาโภคสมบัติเหล่านั้น
ว่า 'ทำอย่างไร พระราชาจะไม่พึงริบโภคสมบัติทั้งหลายของเรา พวกโจรจะไม่พึง
ลักไป ไฟจะไม่พึงไหม้ น้ำจะไม่พึงพัดไป หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงแย่งไป'
เมื่อกุลบุตรนั้นรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชาริบโภคสมบัตินั้นไปก็ดี พวกโจร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :168 }