เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 3. มหาทุกขักขันธสูตร

อารามของอัญเดียรถีย์ปริพาชกกันเถิด" แล้วพากันเข้าไปยังอารามของอัญเดียรถีย์
ปริพาชก แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง
ณ ที่สมควร
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับหมู่ภิกษุนั้นว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พระสมณโคดมบัญญัติการละกามทั้งหลาย แม้พวกเราก็บัญญัติการละกามทั้งหลาย
พระสมณโคดมบัญญัติการละรูปทั้งหลาย แม้พวกเราก็บัญญัติการละรูปทั้งหลาย
พระสมณโคดมบัญญัติการละเวทนาทั้งหลาย แม้พวกเราก็บัญญัติการละเวทนา
ทั้งหลาย ในข้อนี้ มีความแปลกกันอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร และมีการ
กระทำต่างกันอย่างไร ระหว่างการแสดงธรรมหรือการพร่ำสอนของพระสมณโคดม
กับการแสดงธรรมหรือการพร่ำสอนของพวกเรา"
ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว
ครั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้วจึงลุกจากที่นั่งจากไปด้วยตั้งใจว่า "เราทั้งหลายจัก
ทราบเนื้อความแห่งคำกล่าวนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค"
[164] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจาก
บิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เช้าวันนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ได้มีความคิดว่า 'ยังเช้าอยู่ที่จะเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ทางที่ดี พวกเรา
เข้าไปยังอารามของอัญเดียรถีย์ปริพาชกกันเถิด' จึงพากันเข้าไปยังอารามของ
อัญเดียรถีย์ปริพาชก แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึง
กันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์
ทั้งหลายว่า 'ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติการละกามทั้งหลาย
แม้พวกเราก็บัญญัติการละกามทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติการละรูปทั้งหลาย
แม้พวกเราก็บัญญัติการละรูปทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติการละเวทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :166 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 3. มหาทุกขักขันธสูตร

ทั้งหลาย แม้พวกเราก็บัญญัติการละเวทนาทั้งหลาย ในข้อนี้ มีความแปลกกัน
อย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร และมีการกระทำต่างกันอย่างไร ระหว่างการ
แสดงธรรมหรือการพร่ำสอนของพระสมณโคดมกับการแสดงธรรมหรือการพร่ำสอน
ของพวกเรา' ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่อัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้วจึงลุกจากที่นั่งจากไปด้วยตั้งใจว่า
'เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำกล่าวนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค"

คุณ โทษ และการสลัดออกไปจากกาม

[165] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกล่าวตอบ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้น อย่างนี้ว่า 'อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ
อะไรเป็นการสลัดออกไปจากกามทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็น
การสลัดออกไปจากรูปทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสลัดออกไป
จากเวทนาทั้งหลาย' พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนั้นแล้ว
จักไม่พอใจ และจักต้องถึงความคับแค้นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้น
มิใช่วิสัย ภิกษุทั้งหลาย ก็ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เมื่อเว้นตถาคต สาวกของตถาคต
หรือบุคคลฟังคำสั่งสอนของเราตถาคตเสียแล้ว เรายังไม่เห็นผู้ที่จะพึงทำจิตให้ยินดี
ตอบปัญหานี้ได้
[166] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นคุณแห่งกามทั้งหลาย
คือ กามคุณ 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
3. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :167 }