เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

สัตว์ผู้ไม่ลุ่มหลง

[161] มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า 'บุรุษ
หนุ่มผู้เจริญนี้ มีเกศาดำสนิท มีวัยหนุ่มแน่นเหมาะกับปฐมวัย มีปัญญาเฉลียวฉลาด
อย่างยิ่ง ต่อมา บุรุษหนุ่มผู้เจริญนี้ก็ชรา แก่ เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลำดับ
คือมีอายุ 80 ปีบ้าง 90 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง หลังจากนั้น เขาเสื่อมจากปัญญา
ความเฉลียวฉลาดนั้น ข้อนี้เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ก็บัดนี้ เราชรา แก่ เฒ่า ล่วงกาล
ผ่านวัยไปโดยลำดับ เรามีอายุ 80 ปี สาวกบริษัท 4 ของเราในธรรมวินัยนี้มีอายุ
100 ปี เป็นอยู่ได้ 100 ปี มีสติ มีคติ มีธิติ1 อันยอดเยี่ยม และมีปัญญา
เฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง
นักแม่นธนูได้รับการฝึกหัด ช่ำชอง ชำนิชำนาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว
พึงยิงงวงตาลทางด้านขวางให้ตกลงได้โดยไม่ยากด้วยลูกศรขนาดเบา แม้ฉันใด
สาวกบริษัท 4 ของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีสติ มีคติ มีธิติอันยอดเยี่ยม
อย่างนี้ มีปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง
เธอทั้งหลายพึงถามปัญหาอิงสติปัฏฐาน 4 กับเรา เราถูกถามแล้วจะพึงตอบ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทรงจำคำที่เราตอบแล้วโดยแจ่มแจ้ง เธอทั้งหลาย
ไม่ควรถามเราเกินกว่า 2 ครั้ง นอกจากเรื่องการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ การหลับ และการบรรเทาความเมื่อยล้า ธรรมบรรยาย
ของตถาคตนั้นไม่มีจบสิ้น บทและพยัญชนะของตถาคตนั้นไม่มีจบสิ้น ความแจ่มแจ้ง
แห่งปัญหาของตถาคตนั้นไม่มีจบสิ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น สาวกบริษัท 4 ของเรานั้น
มีอายุ 100 ปี เป็นอยู่ได้ 100 ปี เมื่อล่วง 100 ปีไปก็จะพึงตาย แม้ถ้าเธอ

เชิงอรรถ :
1 ที่ชื่อว่า มีสติ เพราะสามารถเล่าเรียนตั้ง 100 บท 1,000 บท
ที่ชื่อว่า มีคติ เพราะสามารถทรงจำและรวบรวมเรียบเรียงไว้ได้
ที่ชื่อว่า มีธิติ เพราะมีความเพียรที่สามารถทำการสาธยายสิ่งที่เล่าเรียนมา ทรงจำมาไว้ได้ (ม.มู.อ.
1/161/373)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :164 }